จุดเริ่มต้นแห่งความยั่งยืนและโอกาสในอนาคต

การเดินทางสู่เส้นทาง ESG ที่ปลายทางคือความยั่งยืนของทั้งธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะสําหรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่หนีไม่พ้น ต้องพึ่งพาการใช้พลังงาน และมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

ท่ามกลางแรงกดดันจากผู้บริโภคและนักลงทุน กระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้จึงต้องคิดให้รอบด้าน

แม้ไม่ง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีหนทาง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) และบริษัท ทีพีบีไอ จํากัด (มหาชน) คือตัวอย่างสําคัญที่ทําให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่เส้นทาง ESG อย่างรอบด้าน

“การเป็นบริษัทที่จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วยเสริมจุดแข็ง
ในด้านธรรมาภิบาล (Good Governance)
ซึ่ง SCG มีส่วนร่วมมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ”

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) ปี 2559-2566

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน) หรือ SCG ปี 2559-2566 (ชื่อย่อหุ้นของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ SCC) ที่เพิ่งวางมือจากตําแหน่งหัวเรือใหญ่ไปเมื่อปลายปี 2566 กล่าวว่า หนึ่งในพันธกิจสําคัญของ SCG ในช่วงเวลา 8 ปีที่เขาอยู่ในตําแหน่งนั้น คือการผลักดันเรื่อง ESG ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะมิติสิ่งแวดล้อม รุ่งโรจน์มองว่าการจะเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรที่มีความยั่งยืนอย่างแท้จริงได้นั้น เป็นภารกิจระยะยาว สิ่งที่เขาทําไว้ในช่วงเวลาที่สวมหมวกผู้บริหาร เป็นแค่การปักหมุดเริ่มต้นเท่านั้น “สมมติว่าผมอยู่ดี ๆ ผมหลับไป แล้วตื่นมาอีกที 5 ปี 10 ปีข้างหน้า ก็หวังว่า SCG จะสามารถนํา ESG Model เข้ามาอยู่เป็นรูปแบบของการทําธุรกิจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แน่นอนว่าตอนนี้ยังไม่ใช่ แต่อย่างน้อยผมมั่นใจว่า คนทํางานทุกคนมีความเข้าใจตรงนี้เป็นพื้นฐาน ก็หวังว่าอีก 10 ปี มันจะกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือดของเรา แล้วมันจะนําไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ที่ทําให้องค์กรเติบโตไปอย่างยั่งยืนได้” โดยสิ่งที่ SCG พยายามทํามี 2 ส่วนหลักด้วยกัน ส่วนแรกคือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยองค์กรตั้งเป้าว่าภายในปี 2593 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิต้องเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยระหว่างทางได้วางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงอย่างน้อย 25% ให้ได้ภายในปี 2573 รุ่งโรจน์อธิบายเพิ่มเติมว่า ตัวแปรสําคัญในเรื่องนี้ที่ยังไม่มีการพูดถึงมากนัก คือการนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการเปลี่ยนผ่าน ในส่วนของ SCG นั้น เริ่มโฟกัสไปที่การพัฒนาพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ๆ อย่างจริงจังโดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ตัวอย่างเช่น โครงการ SCG Solar Roof Solutions การพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานสะอาดอัจฉริยะในรูปแบบ Smart Grid ไปจนถึงการปรับกระบวนการผลิตโดยเพิ่มสัดส่วนของพลังงานสะอาด เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล มากขึ้น ส่วนที่สอง คือการให้ความสําคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “Go Green” ในส่วนของการร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับมิติเรื่องความยั่งยืน รุ่งโรจน์กล่าวว่า การเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วยเสริมจุดแข็งในด้านธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่ง SCG มีส่วนร่วมมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ “หลายคนคงจําได้ว่า ปีที่เราเจอวิกฤตต้มยํากุ้ง ทั้งประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่ใช่เรื่องของการเงินอย่างเดียว แต่ยังเป็นวิกฤตของความศรัทธาด้วย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ มีบทบาทมากในช่วงนั้น

“SCG เป็นกลุ่มบริษัทหนึ่งที่คอยสนับสนุนว่า ทําอย่างไรที่จะยกระดับความโปร่งใส ทําอย่างไรที่จะยกระดับ Corporate Governance Score ให้ทัดเทียมกับบริษัทในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก ตอนนั้นมีการจัดตั้ง IOD (Thai Institute of Directors) หรือสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ซึ่งถึงตอนนี้ IOD เป็น Training School ในเรื่องของ Governance ที่บริษัทต่าง ๆ ซึ่งต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นําแนวคิดดังกล่าวไปใช้เป็นพื้นฐานในการดําเนินงาน เพื่อวางระบบบริหารจัดการของบริษัท ผมคิดว่าอันนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้าไม่ได้เริ่มทําเรื่อง Good Governance ตลาดทุนคงไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้จนถึงทุกวันนี้”

นอกจากนี้ รุ่งโรจน์ยังกล่าวถึงความสําเร็จของความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่พยายามผลักดันเรื่องความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

“ผมจำได้ว่าตอนช่วงแรก ๆ บริษัทจดทะเบียนไทยมีไม่กี่บริษัทที่อยู่ใน DJSI ซึ่งเป็นดัชนีที่ทุกคนยอมรับว่า เป็นมาตรฐานในเรื่องการบริหารจัดการความยั่งยืนในระดับสากล SCG พยายามเข้าไปร่วมมือ มีส่วนร่วมในการแชร์ประสบการณ์ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่ใน DJSI ให้แก่บริษัทจดทะเบียนอื่น ๆ จนถึงตอนนี้ผมเข้าใจว่ามีบริษัทจดทะเบียนไทยอยู่ใน DJSI มากที่สุดในอาเซียน ผมว่ามีไม่กี่ประเทศที่ทําได้ขนาดนี้”

ในอดีต หลายคนอาจมองว่าเรื่องของความยั่งยืน การขาดแคลนทรัพยากร ไปจนถึงภาวะโลกร้อนและความผันผวนของสภาวะภูมิอากาศนั้นเป็นเรื่องไกลตัว แต่เชื่อว่าวันนี้ ด้วยสภาวะและบริบทโลกที่เปลี่ยนไป ผลกระทบต่าง ๆ เริ่มชัดเจนและใกล้ตัวมากขึ้น มาตรการรวมถึงพฤติกรรมบางอย่างที่เคยเป็น ‘ทางเลือก’ กลายเป็น ‘ไฟต์บังคับ’

“ESG มีผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจหรือ Business Model ของเรา ถ้าไม่เริ่มทําตั้งแต่ตอนนี้ สุดท้ายผู้บริโภค กระทั่งนักลงทุน จะเป็นคนบีบให้เราต้องทําอยู่ดี หมายความว่า ไม่ทําไม่ได้ ความท้าทายคือจะทําอย่างไร หัวใจสําคัญคือเรื่องเวลา เราไม่สามารถสร้างกรุงโรมในวันเดียวได้ ในทํานองเดียวกัน เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็น Net Zero ในวันเดียวได้” รุ่งโรจน์ฉายภาพแนวคิดที่เขามีต่อแนวทาง ESG

ด้านธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) แบ่งปันมุมมองว่าที่ผ่านมาธุรกิจในไทย ที่ไม่ได้ทําการค้ากับต่างชาติ อาจมองว่า ESG นั้นไกลตัว แต่ในความเป็นจริง นี่คือสิ่งที่ทุกองค์กรจําเป็นต้องศึกษาติดตามอย่างใกล้ชิด

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรื่องของ ESG หรือ Sustainability ชัดเจนว่าเป็นกระแสของทั้งโลกที่ตื่นตัวและให้ความสําคัญเป็นความต้องการและเป็นความคาดหวังของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

“ESG คือ License to Operate
ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป หากไม่ทําก็ไม่สามารถ
ดําเนินธุรกิจได้ เพราะผู้บริโภคต้องการทราบ
แหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิต ลูกค้า
หรือคู่ค้าก็ต้องการทราบว่าเราดูแลแรงงาน
อย่างเป็นธรรมหรือไม่ บริษัทที่ทำเรื่องนี้ก่อน
และทําได้ดีย่อมได้ประโยชน์”

ธีรพงศ์ จันศิริ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

“ในส่วนของธุรกิจที่เราทำ เราเห็นเลยว่ามีความคาดหวัง จากทั้งนักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้บริโภค รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เนื่องจากเขาต้องการเห็นบริษัทให้ความสําคัญในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการที่มีความรับผิดชอบ ทั้งมิติของสังคมและมิติของคน

“ถ้ามองในมุมของพนักงาน หรือกระทั่งผู้บริโภค พวกเขาต้องการทราบถึงแหล่งที่มาในการผลิต มีการดูแลแรงงานอย่างถูกต้องหรือไม่ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างวัตถุดิบต่าง ๆ ดังนั้น บริษัทที่ทําเรื่องนี้ก่อน ย่อมได้เปรียบ ส่วนบริษัทที่ไม่ทํา หรือไม่ให้ความสําคัญ อาจถูกคัดออก”

ธีรพงศ์เสริมว่า ESG เป็นการลงทุนเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่สูญเปล่า หลายเรื่องใน ESG เป็นเรื่องดี เช่น การใช้พลังงานทดแทน ทําให้ต้นทุนลดลงด้วย โดยในส่วนของไทยยูเนี่ยนเอง นอกจากการตั้งเป้า Net Zero ภายในปี 2593 แล้ว ยังมีการปรับกระบวนการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม โดยทุกวันนี้ไม่มีการปล่อยน้ําเสียออกจากอุตสาหกรรมเลย เรียกว่า Zero Discharge

“ช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความเคลื่อนไหวโดยมีการจัดกลุ่มหุ้น ESG ซึ่งในแง่ของนักลงทุนหรือกองทุน โดยเฉพาะในต่างประเทศ มีกองทุนจํานวนมากที่ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้ โดยยึดหลักว่า ถ้าไม่มีการรับรองเรื่อง ESG ที่มีมาตรฐาน เขาก็ไม่สามารถเข้ามาลงทุนได้

“ประเด็นสําคัญคือ เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ต่างประเทศให้ความสําคัญเท่านั้น แต่ปัจจุบันในประเทศไทยเองก็ให้ความสําคัญค่อนข้างมาก”

แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ ชมัยพร เอื้อไพโรจน์กิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีบีไอ จํากัด (มหาชน) หรือ TPBI ที่ตระหนักถึงความสําคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งได้ให้มุมมองดังนี้

“หากเราเริ่มทําเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยความสมัครใจตั้งแต่ต้นย่อมช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ จากที่ก่อนหน้านี้หลายคนมองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว ทุกวันนี้หลายคนเริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวเนื่องจากภัยธรรมชาติเริ่มสร้างผลกระทบต่อมนุษย์อย่างชัดเจนมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโลกร้อน น้ําท่วมใหญ่ หรือไฟป่า”

หลายปีที่ผ่านมา ชมัยพรมีบทบาทในการผลักดันเรื่องความยั่งยืนโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมชัดเจน ผ่านการทํางานและการบริหารบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งทุกบริษัทล้วนอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสิ้น ตั้งแต่บริษัทผลิตเคมีภัณฑ์ บริษัทผลิตและจัดจําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค และปัจจุบันคือ TPBI ซึ่งเป็นบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกและกระดาษแบบครบวงจร

“การผลักดันความยั่งยืนในธุรกิจ
ยังมีความท้าทายอยู่มาก บางครั้งผู้ประกอบการ
ต้องยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงในช่วงเริ่มต้น
เพื่อแลกกับผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อธุรกิจ
ผู้บริโภค และโลกใบนี้ในระยะยาว”

ชมัยพร เอื้อไพโรจน์กิจ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีบีไอ จํากัด (มหาชน)

“Sustainability ต้องมาจากตัวเราเองก่อนไม่ใช่ทําตามกระแส แต่ต้องเริ่มจากการสร้างจิตสํานึกและความเข้าใจภายในองค์กร พร้อมทั้งส่งผ่านไปยังผู้มีส่วนได้เสีย ถ้าหากตัวเราเองไม่ได้ทําด้วยความเข้าใจสุดท้ายก็จะเป็นเพียงการทําตามกระแสภายนอก และส่งผลให้ไม่เกิดความยั่งยืนในที่สุด”

ชมัยพรเล่าว่า “การผลักดันด้านความยั่งยืนในธุรกิจยังมีความท้าทายอยู่มาก บางครั้งผู้ประกอบการต้องยอมลงทุนด้วยเม็ดเงินที่สูงในช่วงเริ่มต้น เพื่อแลกกับผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อธุรกิจ ผู้บริโภค และโลกใบนี้ในระยะยาว ขณะเดียวกันในฐานะผู้ประกอบการก็ต้องทําความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ตลอดจนผู้บริโภค ให้มองเห็นเป้าหมายเดียวกันทั้งหมด TPBI จึงก่อตั้งโครงการ ‘วน’ เพื่อปลูกจิตสํานึกให้กับผู้บริโภคและสังคมในการแยกขยะพลาสติกประเภทฟิล์มที่ยืดได้ แห้ง และสะอาด เพื่อนําพลาสติกประเภทดังกล่าวกลับมารีไซเคิลและนํากลับมาใช้ได้อย่างไม่รู้จบ

SET ESG Ratings ‘สร้างโอกาสการลงทุน ด้วย SET ESG Ratings’ ตั้งแต่ปี 2558 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดทํา ‘รายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI’ (Thailand Sustainability Investment) ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับนักลงทุน

ในปี 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปลี่ยนชื่อรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment) เป็นหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings พร้อมทั้งประกาศผลประเมินในรูปแบบ ESG Ratings เป็นปีแรกเพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการติดสินใจลงทุน

“เราตั้งต้นปลูกจิตสํานึกให้กับผู้บริโภคที่เป็นเยาวชนก่อนเพื่อสร้างนิสัยความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อพวกเขาทําได้ และทำเป็นนิสัย จะค่อย ๆ ขยายออกไปสู่ครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่ ส่งผลให้ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้หรือไม่เคยสนใจ ต้องกลับมาเริ่มให้ความสนใจจากจิตสํานึกและแนวปฏิบัติที่ดีของเยาวชนเหล่านั้น”

สิ่งที่โครงการ “วน” มุ่งมั่นและปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ การตั้งจุดรับเศษพลาสติก แล้วนําเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อทําเป็นเม็ดพลาสติกชนิดยืดรีไซเคิล (Post Consumer Recycle Resin: PCR) ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ได้อีกครั้ง และอีกส่วนคือ การเดินทางออกไปตามโรงเรียน สถานศึกษา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของพลาสติก การใช้งานที่ถูกต้อง ตลอดจนการคัดแยกขยะแต่ละประเภทสื่อ ให้เกิดอัตราการนํามารีไซเคิลที่เพิ่มมากขึ้น

ผลจากความตั้งใจและวิสัยทัศน์ดังกล่าวทําให้บริษัท ทีพีบีไอ จํากัด (มหาชน) หรือ TPBI ได้รับรางวัล SET Awards 2023-Commended Sustainability Awards ซึ่งเป็นรางวัลในกลุ่ม Sustainability Excellence ที่สะท้อนถึงมาตรฐานแห่งความเป็นเลิศด้านความยั่งยืนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบให้แก่บริษัทจดทะเบียนที่มีการดําเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดดเด่น มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี คํานึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บริษัทจดทะเบียนและองค์กรอื่น ๆ

นอกจากรางวัลข้างต้น TPBI ยังได้รับการประเมินการกํากับดูแลกิจการประจําปี 2566 หรือ CGR 2023 ในระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน และยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจําปี 2566 ที่ระดับ AA ซึ่ง TPBI ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 4 ปีติดต่อกัน รางวัลเหล่านี้ล้วนเป็นการสนับสนุนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดขึ้น เพื่อให้บริษัทที่ดําเนินงานตามแนวทางด้านความยั่งยืนได้รับการยกย่องและเป็นแรงผลักดันให้มีความมุ่งมั่นต่อไป

“ธุรกิจต้องมี Sense of Responsibility
หรือมีภาระใจที่จะร่วมรับผิดชอบและแก้ไขปัญหา
ที่กําลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม
สังคม หรือความเปลี่ยนแปลงที่กระทบ
ต่อการใช้ชีวิตของผู้คน
เพราะธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคม”

สมจินต์ ศรไพศาล
กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

ขณะที่ สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เน้นย้ำว่า ESG เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรควรให้ความสําคัญ โดยเขาเชื่อว่าหมดยุคแล้วที่ธุรกิจจะทําเพื่อแสวงหากําไรเท่านั้น แต่ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่กําลังเกิดขึ้นตอนนี้ได้เปลี่ยนมุมมองในการดําเนินธุรกิจให้คิดถึงมากกว่าแค่องค์กรของตัวเอง “ธุรกิจต้องมี Sense of Responsibility หรือมีภาระใจ ที่จะร่วมรับผิดชอบและแก้ไขปัญหาที่กําลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม หรือความเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน เพราะธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ หากคุณไม่เริ่มทํา องค์กรของคุณจะมีความเสี่ยงอย่างที่คาดไม่ถึง” โดยความร่วมมือล่าสุด เกิดขึ้นระหว่างสมาคมตราสารหนี้ไทยกับกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) คือการริเริ่มให้ทุนเพื่อสนับสนุนออกตราสารหนี้ประเภท ESG Bond ได้แก่ Green Bond, Social Bond และ Sustainability Bond ที่เป็นการระดมทุนเพื่อนําไปใช้ในโครงการที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือโลกในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน “การที่ประเทศไทยร่วมให้สัตยาบันในการเปลี่ยนผ่านโลกไปสู่ความยั่งยืน ทั้งหมุดหมายของการไปถึง Carbon Neutrality หรือการบรรลุ Net Zero ก็ตาม จําเป็นต้องใช้เงินทุน การมีตราสารหนี้ ESG เหล่านี้เป็น Transition Financing เพราะผู้ออกต้องวัด Carbon Footprint หรือต้องมีผู้ตรวจสอบภายนอก มาทวนสอบว่าตราสารหนี้ที่ออกเป็นไปตามหลักเกณฑ์และกรอบด้าน ESG หรือไม่ เป็นต้น ดังนั้น ESG Bond จึงเป็นเครื่องมือทางการเงินสําคัญที่ช่วยเปลี่ยนผ่าน และพาเราไปถึงหมุดหมายนั้น” ในขณะที่ ยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย มองว่า เรื่องเทรนด์ Sustainability หรือ ESG นั้น ผู้ประกอบการมีความตระหนักอยู่แล้ว เพราะบริษัทต้องค้าขาย ถ้าไม่ทําก็อยู่รอดไม่ได้ “ต้องเป็นการตามทันในระดับที่ไม่ใช่แค่รู้ว่าเทรนด์นี้ดีแต่เข้าใจว่าเรื่องนี้ ไม่ใข่แค่ดี แต่ถ้าไม่ทำตามนี้ เท่ากับ ‘ตาย’ เพราะคุณจะไม่สามารถแข่งขันกับใครในระยะยาวได้เลย”

“ต้องเป็นการตามทันในระดับที่ไม่ใช่แค่รู้ว่า
เทรนด์นี้ดี แต่เข้าใจว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ดี
แต่ถ้าไม่ทําตามนี้ เท่ากับ “ตาย”
เพราะคุณจะไม่สามารถแข่งขันกับใคร
ในระยะยาวได้เลย”

ยิ่งยง นิลเสนา 
นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

“ในขณะที่ทิศทางของโลกกําลังมุ่งไปสู่
การลดปริมาณคาร์บอน แปลว่าหากองค์กร
หรือบริษัทใดที่มีนโยบายและสามารถทำตาม
เป้าหมายดังกล่าวได้ ย่อมมีโอกาสมากกว่า
ที่องค์กรเหล่านั้นจะอยู่ในสายตาของนักลงทุน”

Chih–Hung Lin กรรมการอํานวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

ด้าน Chih–Hung Lin กรรมการอํานวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) เสริมประเด็นนี้ ว่า เรื่อง ESG นั้นจะยิ่งทวีความสําคัญมากขึ้นในอนาคต เพราะหากมองในมุมของนักลงทุนแล้ว ส่วนใหญ่มักคาดหวังกับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่เป็นตัวชี้ขาดในการลงทุนระยะยาว คือปัจจัยด้านความยั่งยืน “ในขณะที่ทิศทางของโลกกําาลังมุ่งไปสู่การลดปริมาณคาร์บอน แปลว่าหากองค์กรหรือบริษัทใดที่มีนโยบายและสามารถทําตามเป้าหมายดังกล่าวได้ ย่อมมีโอกาสมากกว่าที่องค์กรเหล่านั้นจะอยู่ในสายตาของนักลงทุน เช่น นักลงทุนสถาบันที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาว หรือการออกดัชนีด้าน ESG ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วยให้นักลงทุนบุคคลมีทางเลือกลงทุนในหุ้นที่ราคามีความผันผวนน้อย” ขณะที่ Loh Boon Chye ประธานสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE) และ CEO ของ Singapore Exchange (SGX Group) เสริมในแง่บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเรื่อง ESG ว่าสามารถผลักดันร่วมกันในการสร้างมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ยกระดับการดําเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียนอํานวยความสะดวกให้มีผลิตภัณฑ์ลงทุนด้านความยั่งยืน และให้การสนับสนุนการใช้เครื่องมือทางการเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืน ด้าน นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD มองว่าเป็นเรื่องสําคัญ ที่จะผลักดันประเด็นเรื่องความยั่งยืนให้เป็นวาระเร่งด่วนของสังคม ซึ่งการจับมือกับพันธมิตรในองค์กรต่าง ๆ จะช่วยรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงวิกฤตที่กําลังเกิดขึ้นกับโลกและใช้ศักยภาพที่มีในการร่วมกันแก้ไข