การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2518 ทําให้เกิด Exchange Market Platform ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นความทันสมัยในขณะนั้น แต่คนจํานวนมากคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว และยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดทุน

เมื่อเวลาผ่านไป อาจกล่าวได้ว่าวันที่ 30 เมษายน 2518 กลายเป็นวันสําคัญในหน้าประวัติศาสตร์ตลาดทุนที่เปลี่ยนประเทศไทยไปตลอดกาล เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีส่วนร่วมสําคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า (Better Future) ให้แก่ตลาดทุน ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศมาโดยตลอด

การเกิดขึ้นของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทําให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกใหม่ในการระดมทุนด้วยต้นทุนและความเสี่ยงทางการเงินที่ต่ําลง มีกําลังที่เข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโต เกิดสินค้าและบริการที่หลากหลาย เกิดการจ้างงาน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค นอกจากนี้ ยังทําให้เกิดทางเลือกใหม่ในการต่อยอดเงินออม สร้างผลตอบแทนด้วยการลงทุนในธุรกิจที่ดีภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นการเปลี่ยนจากผู้มีเงินออมให้เป็นนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเป็น Platform ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกเปลี่ยนมือการถือหลักทรัพย์ ซึ่งเบื้องหลังเต็มไปด้วยธุรกิจที่มีความหลากหลาย

ดังนั้น การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีผลต่อการสร้างและรักษาความมั่นคงทางการเงินของนักลงทุน และเป็นกลไกที่เชื่อมโยงนักลงทุนและผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดพลังมหาศาลในการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปสู่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของประเทศ

ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ผ่านร้อน ผ่านหนาว ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับการเดินทางของประเทศไทยในช่วงที่มี Roadmap การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็น Platform สําคัญในการสร้างธุรกิจไทยให้มีความเข้มแข็งก้าวไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลกได้เพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อประเทศเผชิญวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ แม้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับผลกระทบไปด้วย แต่ก็ยังทําหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและสรรหากลไกเพิ่มเติมเพื่อมีส่วนร่วมในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ผ่านพ้นวิกฤตและเติบโตอย่างยั่งยืน

50 ปี กับการเดินทางสู่ความเติบโตอย่างยั่งยืน

  • 2518 เปิดซื้อขายวันแรก
    30 เมษายน 2518 เปิดซื้อขายวันแรกด้วยวิธีเคาะกระดาน ซึ่งกลายเป็นวันสําคัญวันหนึ่ง ที่เปลี่ยนประเทศไทยไปตลอดกาล เพราะ ตลท. ได้สร้างอนาคตใหม่ให้แก่ตลาดทุน ตลาดการเงิน รวมทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  • 2522 เกิดวิกฤตราชาเงินทุน
    ตลท. เปิดดําเนินการได้เพียง 4 ปี ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตราชาเงินทุน ซึ่งนับเป็นวิกฤตการณ์ครั้งแรกของ ตลท. เหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างความเสียหาย และกลายเป็นบทเรียนให้ ตลท. ได้ออกกฎเกณฑ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
  • 2527 ยุคโชติช่วงชัชวาล
    เหตุการณ์สําคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่ประเทศไทยแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หลังจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จนนํามาสู่การพัฒนาโครงการ Eastern Seaboard ในยุคโชติช่วงชัชวาล ทําให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด ตลท. ณ ช่วงเวลานั้น ทําหน้าที่สําคัญในบทบาทสนับสนุนการระดมทุน จนทําให้ Market Cap โตถึง 47,431.85 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2527
  • 2534 เปลี่ยนวิธีซื้อขายหุ้นจากเคาะกระดานเป็นคอมพิวเตอร์
    การปรับเปลี่ยนวิธีการซื้อขายหุ้นเป็นระบบคอมพิวเตอร์จับคู่ซื้อขายถือว่าเป็นการมองการณ์ไกลและยกระดับ Infrastructure Capability ของ Market Platform ครั้งสําคัญ เพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่จะเติบโตในอนาคต ทั้งมูลค่าการซื้อขาย และจํานวนบริษัทจดทะเบียน
  • 2535 กําเนิด ก.ล.ต.
    พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ถือกําเนิดคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เพื่อทําหน้าที่กำกับและพัฒนาตลาดทุน โดยมีอํานาจในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุน รวมถึงการกํากับดูแลการซื้อขายที่ไม่เป็นธรรมในตลาดทุนผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • 2540 วิกฤตต้มยํากุ้ง
    วิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกว่า ‘วิกฤตต้มยํากุ้ง’ ได้สร้างผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลต่อการลงทุนใน ตลท. เป็นอย่างมาก สะท้อนได้จาก SET Index ที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่ง
  • 2543 เปิดโลกออนไลน์ชื้อขายหลักทรัพย์บนอินเทอร์เน็ต
    ตลท. พัฒนา Market Platform ครั้งสําคัญ โดยจัดตั้ง Settrade.com เพื่อเตรียมความพร้อม รองรับการซื้อขายแบบออนไลน์ นับเป็นองค์กรแรกๆ ณ ช่วงเวลานั้นที่ริเริ่มพัฒนา Online Trading Platform แม้ในช่วงแรกการซื้อขายหุ้นผ่านช่องทางออนไลน์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ตลท. เชื่อในเรื่อง Make it Work for Every Future
  • 2544 ตลาดหลักทรัพย์ mai เปิดซื้อขายครั้งแรก
    ตลาดหลักทรัพย์ mai (Market for Alternative Investment) เปิดทําการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เพื่อทําหน้าที่เป็นตลาดทุน สําหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมการร่วมลงทุน (Venture Capital)
  • 2545 จัดตั้ง CG Center
    ตลท. ขับเคลื่อนให้บริษัทจดทะเบียนเห็นความสําคัญของบรรษัทภิบาล โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาการกํากับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน (CG Center) ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางให้คำปรึกษา เป็นแหล่งพัฒนาความรู้และส่งเสริมบริษัทจดทะเบียน นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนารากฐานของความยั่งยืนให้แก่บริษัทจดทะเบียน
  • 2547 ตลาด TFEX ศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์
    เกิดการเปลี่ยนแปลงสําคัญด้าน Infrastructure ของ Market Platform โดย ตลท. ได้จัดตั้งตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Thailand Futures Exchange: TFEX) เข้ามาทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์ เครื่องมือสําคัญที่ช่วยบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้และตลาดตราสารทุน ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจในอนุพันธ์ไม่มากนัก
  • 2549 ก่อตั้งมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินโครงการเพื่อสังคม
    ตลท. บริจาคเงินเป็นทุนทรัพย์ในการจัดตั้งมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานและชุมชน นับเป็นต้นแบบของการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมส่วนรวม ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศ ต้องให้ความสําคัญกับการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนที่เป็นรากฐานของสังคม
  • 2555 เริ่มซื้อขายหลักทรัพย์ ด้วยระบบ SET CONNECT
    เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต ตลท. ได้ยกระดับ Capacity ของ Market Platform ครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยพัฒนาระบบซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่ ‘SET CONNECT’ ที่มีความสามารถเทียบเท่าระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ชั้นนําในระดับโลก นับเป็นการช่วยยกระดับตลาดทุนไทยสู่การแข่งขันและการเชื่อมโยงในระดับสากล
  • 2557 เข้าร่วม UN Sustainable Stock Exchanges Initiative
    ตลท. เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกในอาเซียน ที่เข้าร่วม UN Sustainable Stock Exchanges (SSE) Initiative นับเป็นการแสดงจุดยืนด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจในตลาดทุนไทยที่พัฒนาเป็น Corporate Sustainability หรือ ESG Development ได้ในเวลาต่อมา ยิ่งตอกย้ำ Make it Work for Every Future ของ ตลท. อีกครั้งหนึ่ง
  • 2560 เปิดบริการ LiVE Platform
    Platform ที่ช่วยเตรียมความพร้อมสําหรับ SMEs และ Startups ให้เติบโตและมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุน
  • 2561 ลดระยะเวลาการชําระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์
    ตลท. ปรับลดระยะเวลาการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์จาก T+3 มาเป็น T+2 ช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุน และยังช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารพอร์ตการลงทุนระหว่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น
  • 2562 จัดตั้ง FinNet พัฒนาระบบการชําระเงิน สําหรับตลาดทุนข้ามธนาคาร
    ตลท. ตั้ง บริษัท ฟินเน็ต อินโนเวชั่น เน็ตเวิร์ค จํากัด (FinNet) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินสําหรับตลาดทุนโดยทําหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ ช่วยลดความซับซ้อนและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ
  • 2563 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับธุรกรรมดิจิทัล
    บริษัท ดิจิทัล แอคเซส แพลตฟอร์ม จํากัด (DAP) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ตลท. ให้บริการระบบเพื่อรองรับธุรกรรมดิจิทัล มุ่งสร้างมาตรฐานของอุตสาหกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อนในการทําธุรกรรมเพื่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัย
  • 2565 TDX ได้รับใบอนุญาตให้ดําเนินธุรกิจ
    บริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จํากัด หรือ Thai Digital Assets Exchange Company Limited (TDX) ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจ เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทโทเคนดิจิทัล ภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
  • 2566 ส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืน ด้วย Thailand ESG Fund
    กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund: Thai ESG) มีนโยบายลงทุนใน หุ้น ESG ของไทย และ/หรือ ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืนของไทย เป็นอีกทางเลือกของการลงทุนสําหรับผู้ลงทุนระยะยาวในกิจการที่เน้นความยั่งยืน