Make It Work for Everyone

ขึ้นชื่อว่า ‘ตลาดทุน’ ทุกข้อต่อล้วนสําคัญ ทั้งผู้ประกอบการ นักลงทุน นักวิเคราะห์ รวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดการลงทุนอย่างสร้างสรรค์ ทั้งสมาคม ที่ทําหน้าที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน สื่อมวลชนที่มีบทบาทขับเคลื่อนสังคมและพัฒนาองค์ความรู้ โดยมีการพัฒนา Infrastructure ที่เชื่อมโยงทุกข้อต่อให้กลไกตลาดทุนขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง

บทบาทหนึ่งที่สําคัญของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาคือ การลากเส้นต่อจุดให้ทุกข้อต่อสามารถทํางานร่วมกัน ผ่านภารกิจที่หลากหลายทั้งในแง่ของการสร้างคุณภาพให้บริษัทจดทะเบียน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรองรับทุกความต้องการของการลงทุน การบ่มเพาะความรู้ สร้างความเชื่อมั่น ตลอดจนการผสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ภาคธุรกิจและนักลงทุน เพื่อให้เป็น ‘ตลาดทุนสําหรับทุกคน’ อย่างแท้จริง

ในส่วนนี้คือเรื่องเล่าของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่โลดแล่นอยู่ในตลาดทุน แม้ต่างบทบาท แต่ทุกฝ่ายล้วนให้มุมมองที่น่าสนใจต่อการขับเคลื่อนตลาดทุนแห่งนี้ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
เสริมศักยภาพตลาดทุนไทย

ท่ามกลางภารกิจหลากหลายด้านที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องผลักดันให้บรรลุตามเป้าหมาย ยังมีอีกหนึ่งบทบาทสําคัญคือการจับมือกับพันธมิตรในระบบนิเวศตลาดทุนจนก่อให้เกิดการพัฒนาตลาดทุนในหลากหลายด้าน

เสียงสะท้อนเหล่านี้คือตัวอย่างบางส่วนของพันธมิตรที่ทํางานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา

สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย หรือ ASCO (Association of Thai Securities Companies) มีบทบาทสําคัญในการเป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมสําคัญที่สุดรายหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตลอด 50 ปี โดยสมาคมประกอบด้วยบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกต่อระบบตรงกับตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ประกอบการตรงกลาง ที่เป็นจุดเชื่อมพานักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คอยแนะนํานักลงทุนว่าควรจะลงทุนอะไรและเป็นกลไกที่ทําให้เกิดการซื้อขายหลักทรัพย์และชําระราคาอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินยังมีบทบาทสําคัญในการคัดกรองบริษัท เตรียมความพร้อมให้บริษัท สามารถเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปและนําหุ้นเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย

“ที่ผ่านมาสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย
และ ตลท. ร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องผ่าน
การประชุมร่วมกัน ถือเป็นความร่วมมือ
ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนําเสนอผลิตภัณฑ์
ให้ตรงกับความต้องการของนักลงทุน”

พิเชษฐ สิทธิอํานวย
นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO)

พิเชษฐ สิทธิอํานวย นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) เล่าถึงบทบาทและความร่วมมือระหว่างสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย และตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า

“ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย มีความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องผ่านการประชุมร่วมกัน เช่น กรรมการของสมาคมประชุมกับผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกเดือนเพื่อติดตามประเด็นสําคัญในตลาดทุน นอกจากนั้น ยังมีคณะทํางานต่าง ๆ เช่น คณะทํางานที่ดูเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยตัวแทนสมาคมที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จะนําเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อได้ความคิดเห็นที่ตรงกันก็จะนําไปเสนอกับสํานักงาน ก.ล.ต. เพื่อให้ออกกฎเกณฑ์อย่างเหมาะสม ถือเป็นความร่วมมือที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนําเสนอผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของนักลงทุน”

ตัวอย่างความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ฯ กับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกคือการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในทุกยุคสมัย

“ถ้าจําได้สมัยก่อนเราใช้การซื้อขายแบบเคาะกระดาน พอตลาดหลักทรัพย์ฯ เปลี่ยนไปใช้ระบบการซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์ บริษัทหลักทรัพย์เองก็ต้องพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องให้ใช้ร่วมกันได้ รวมถึงพัฒนาการด้านการชําระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ ที่ปรับเปลี่ยนจาก T+3 เป็น T+2 บริษัทหลักทรัพย์เองก็ต้องมีการปรับปรุงระบบเพื่อให้สอดคล้องกับระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทําให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น”

ด้าน สมภพ กีระสุนทรพงษ์ อดีตประธานกรรมการ ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้เล่ามุมมองการทํางานของตลาดหลักทรัพย์ฯ กับชมรมวาณิชธนกิจ ซึ่งอยู่ภายใต้สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยว่า

“ชมรมวาณิชธนกิจจะเข้าไปเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น หน่วยงานกํากับดูแล และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยการนําความคิดเห็นของสมาชิกชมรมฯ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor: FA) ไปแลกเปลี่ยนกับ Regulator ไม่ว่า จะเป็นสํานักงาน ก.ล.ต. หรือฝ่ายกํากับของตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น กรณีมีการออกเกณฑ์ใหม่ ๆ ชมรมฯ ก็จะเข้าไปมีบทบาท ในลักษณะของการให้ความคิดเห็นในฐานะคนทํางาน ผู้กำกับดูแลก็คงต้องการจะรู้ว่าคนทํางานมีมุมมองต่อนโยบายและหลักเกณฑ์ที่กําลังจะออกมาอย่างไร เป็นปัญหาหรืออุปสรรคกับการทํางานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม FA เองต้องเข้าใจบทบาทของตัวเองและต้องรู้ว่าความคาดหวังของ Regulator อยากเห็นบทบาทของ FA ทําหน้าที่อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชมรมฯ พยายามร่วมมือและประสานอย่างเต็มที่”

“FA ต้องเข้าใจบทบาทของตัวเอง
และต้องรู้ว่าความคาดหวังของ Regulator
อยากเห็นบทบาทของ FA ทําหน้าที่อย่างไร
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ชมรมฯ พยายามร่วมมือ
และประสานอย่างเต็มที่”

สมภพ กีระสุนทรพงษ์
อดีตประธานกรรมการ ชมรมวาณิชธนกิจ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย

“การให้ความสําคัญกับการร่วมมือ
กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องคือความตั้งใจดี
ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เราเห็นตลอดมา”

บุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด

บุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด ฉายภาพให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการสร้างพันธมิตรกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทยว่า

“ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ท่านใดก็ตาม ทุกท่านล้วนให้เกียรติเราและเชิญสมาคมโบรกเกอร์เข้าไปร่วมหารือถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้เราสามารถแข่งขันได้อย่างเสรีและเป็นธรรม ตลอดจนสร้างความโดดเด่นที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดมากขึ้น การให้ความสําคัญในการร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องคือ ความตั้งใจดีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เราเห็นตลอดมา

“นับตั้งแต่ครั้งแรกที่หยวนต้าเข้ามาดําเนินกิจการในไทยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เรามีประสบการณ์ในการทํางานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างมากมาย จากมุมมองของเราเห็นว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการพัฒนาในหลาย ๆ มิติมาโดยตลอด โดยเฉพาะการร่วมมือกับโบรกเกอร์ในการพัฒนาศักยภาพของตลาดเพื่อเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้แก่นักลงทุน”

เช่นเดียวกับ ชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ได้กล่าวถึงสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ซึ่งมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นสมาชิกเพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจจัดการลงทุน และความร่วมมือที่ผ่านมากับตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจหลักทรัพย์จัดการลงทุน ซึ่งหน้าที่หลักในฐานะนายกสมาคมคือการเป็นตัวเชื่อมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในเรื่องของการวางกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ พัฒนาบุคลากร ให้ความรู้ ความเข้าใจในการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่ประชาชน และพัฒนาอุตสาหกรรมการลงทุนเพื่อเชื่อมต่อตลาดทุนไทยกับตลาดทุนโลก

“อยากให้ประชาชนทั่วไปใช้ บลจ.
เป็นช่องทางในการเข้าถึงการลงทุน
โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยมีเวลา บลจ.
สามารถช่วยบริหารจัดการเงินให้ได้”

ชวินดา หาญรัตนกู
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)

“บลจ. เสมือนเป็นกิ่งหนึ่งของตลาดทุน ในฐานะนักลงทุน สถาบันที่ระดมทุนจากประชาชนมาลงทุนในตลาดทุนไทยหรือไปใช้ตลาดทุนต่างประเทศ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน และส่งเสริมให้กองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการบริหารเงินออมให้แก่นักลงทุน ซึ่งแท้จริงแล้วเราลงทุนเพื่อหวังผลให้ชนะเงินเฟ้อ เพราะเราเชื่อว่าระยะยาว ถ้าไม่ทําอะไรเลยกับเงิน เงินก็จะฟีบลง ก๋วยเตี๋ยวชามละ 20 บาท มา 50 บาท ในอนาคตอาจจะมาเป็นหลายร้อยบาท ดังนั้น อยากให้ประชาชนทั่วไปใช้ บลจ. เป็นช่องทางในการเข้าถึงการลงทุน โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยมีเวลา บลจ. สามารถช่วยบริหารจัดการเงินให้ได้ สําหรับนักลงทุนที่เป็นองค์กรก็สามารถให้ บลจ. บริหารจัดการเงิน ตั้งแต่การวางแผน เปรียบเทียบผลตอบแทน เลือกเทคนิคในการบริหารจัดการ จะเห็นว่ามีหลายมิติมาก”

นอกจากนี้ การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการอํานวยความสะดวกเรื่องการซื้อขาย กองทุนรวม เช่นระบบ FundConnext นับเป็นระบบที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในการดําเนินธุรกิจ

“ต้องขอบคุณตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่พัฒนา FundConnext ตอนนี้เราไม่อยากกลับไปใช้โหมดเดิมที่ต่างคนต่างทํา ต่างคนต่างพัฒนาในเรื่องของระบบทะเบียน พอมี FundConnext ทุกคนมาใช้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์มาก ทั้งในแง่ของนักลงทุนที่จะสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้ง่ายขึ้น เป็นการประหยัดเวลาและต้นทุนในการลงทุนเชิงระบบของสถาบันตัวกลาง

“นอกจากนี้ การใช้ข้อมูลร่วมกันบนระบบมีความรวดเร็ว เราเคยใช้ระยะเวลานานในการ Consolidate ข้อมูลจากบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายที่เป็นหน่วยลงทุน (บลน.) แต่พอมี FundConnext บลจ. สามารถนําข้อมูลไปใช้เร็วมากขึ้น อันนี้ตอบโจทย์ทุกอย่างทําให้ทํางานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแท้จริง นอกจากทําให้อุตสาหกรรมการลงทุนได้พัฒนาในเชิงโครงสร้างแล้ว ยังทําให้การดําเนินธุรกิจของ บลจ. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

“การเกิดขึ้นของ FundConnext
เป็นส่วนที่สําคัญมากในการส่งเสริม
ศักยภาพตลาดทุนไทย ในแง่ของการเป็น
โครงสร้างพื้นฐานในการรับ-ส่งข้อมูล
การซื้อขายและการชําระราคากองทุนรวม”

ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จํากัด

ณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จํากัด มองว่าการร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะการพัฒนาแพลตฟอร์ม FundConnext ทําให้การซื้อขายกองทุนรวมเป็นเรื่องง่ายขึ้น

“การเกิดขึ้นของ FundConnext เป็นส่วนที่สําคัญมากในการส่งเสริมศักยภาพตลาดทุนไทย ในแง่ของการเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการรับ-ส่งข้อมูลการซื้อขายและการชําระราคากองทุนรวม โดยเฉพาะกับบริษัทหลักทรัพย์รายใหม่ ที่เดิมจะต้องมีเงินลงทุนมากพอถึงจะเข้ามาสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านนี้ได้

“FundConnext จึงมีส่วนในการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยใหม่ ๆ ให้สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทในตลาด ส่งเสริมให้เกิดการซื้อขายอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงนับเป็นการร่วมมือที่มีประโยชน์อย่างมากต่อนักลงทุนและตลาดทุนไทย”

“ถ้าไม่มีนักวิเคราะห์เลย หรือนักวิเคราะห์
เลือกที่จะไม่วิเคราะห์ กลไกของการค้นพบราคา
ก็จะเกิดขึ้นด้วยโมเมนตัมของการเทรด
ที่ไม่ได้นําไปสู่ราคาพื้นฐานที่เป็นจริง
เพราะฉะนั้นบทบาทนักวิเคราะห์
จึงมีความสําคัญมาก ๆ”

ไพบูลย์ นลินทรางกูร
นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA)

ไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA) กล่าวถึงบทบาทของสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุนในการพัฒนาการทํางานของนักวิเคราะห์ให้มีคุณภาพและจรรยาบรรณ รวมทั้งส่งเสริมนักวิเคราะห์ให้มีความรู้ความเข้าใจ เท่าทันพัฒนาการที่เกิดขึ้นในตลาดทุน เพื่อให้สามารถจัดทําข้อมูล เช่น บทวิเคราะห์ที่จําเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนได้

“นักวิเคราะห์การลงทุนมีบทบาทสําคัญทําให้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ถูกวิเคราะห์ให้เห็นภาพในอนาคตของบริษัท และเผยแพร่บทวิเคราะห์สู่สาธารณชน และ Investment Community ให้ทุกคนได้มีภาพที่ชัดเจนของตลาดที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว สุดท้ายจะนําไปสู่กลไกที่สําคัญที่สุดของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ Price Discovery หรือกลไกค้นพบราคาและมูลค่าที่ควรจะเป็นของบริษัท ถ้าไม่มีนักวิเคราะห์เลย หรือนักวิเคราะห์เลือกที่จะไม่วิเคราะห์ กลไกของการค้นพบราคาก็จะเกิดขึ้นด้วยโมเมนตัมของการเทรดที่ไม่ได้นําไปสู่ราคาพื้นฐานที่เป็นจริง เพราะฉะนั้นบทบาทนักวิเคราะห์จึงมีความสําคัญมาก ๆ”

นอกจากความร่วมมือที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ตลอดระยะเวลา 50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์การลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยตราสารหนี้ถือเป็นกลไกหลักกลไกหนึ่ง ซึ่งหากกิจการจะหาแหล่งทุนมาดําเนินธุรกิจก็สามารถกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ ออกหุ้นหรือออกตราสารหนี้ นอกจากนี้ ภาครัฐเองก็สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้บริหารเศรษฐกิจของประเทศ เพราะฉะนั้นตลาดตราสารหนี้จึงเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของตลาดการเงินไทย

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจึงนับว่าเป็นองค์กรที่เดินทางเคียงคู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในมิติต่าง ๆ ทั้งเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการซื้อขายและลงทุนในตราสารหนี้ รวมถึงการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้

“ผมคิดว่าความร่วมมือในเรื่องการให้ความรู้
เกี่ยวกับการลงทุนเป็นสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทํามาโดยตลอด ล่าสุดเรามีความพยายาม
ที่จะร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่อยู่ใน FETCO
ตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. ในการสนธิข้อมูลระหว่างกัน”

สมจินต์ ศรไพศาล
กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)

สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เล่าถึงความสําคัญของตลาดตราสารหนี้ต่อตลาดการเงินไทยทั้งด้านการระดมทุนของธุรกิจและการออมระยะยาวของนักลงทุน ตลอดจนบทบาทความร่วมมือและการร่วมพัฒนา Infrastructure ของตลาดทุนว่า

“ถ้ามองในมุมของแหล่งระดมทุน ตลาดตราสารหนี้เป็นส่วนสําคัญที่จะทําให้การทํางานของตลาดการเงินมีประสิทธิภาพ ส่วนของทุนจําเป็นในช่วงเริ่มต้น เมื่อสามารถระดมทุนจากประชาชนได้ ธุรกิจก็จะขยาย หากใช้แต่หุ้น ทุนการขยายก็จํากัด แนวคิดสําคัญที่จะทําให้เกิดประสิทธิภาพและทําให้เกิดผลตอบแทนที่ดีก็คือการ Balance ด้วยการใช้ตราสารหนี้ เพราะฉะนั้นการที่บริษัทแห่งหนึ่งสามารถเติบโตและพัฒนาตัวเองจนสามารถจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้เท่ากับเป็นการเปิดประตูสู่ตลาดตราสารหนี้ควบคู่กันไป

“ผมคิดว่าความร่วมมือในเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน เป็นสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทํามาโดยตลอด ล่าสุดเรามี FETCO ความพยายามที่จะร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. ในการสนธิข้อมูลระหว่างกัน คือ เวลาที่ผู้เสนอหลักทรัพย์ให้ข้อมูล ข้อมูลจํานวนหนึ่งต้องส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว แต่ข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจจะได้รับทีหลัง สมาคมฯ จะได้รับก่อน เพราะฉะนั้นการสนธิข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นทิศทางที่กําลังพยายามทําซึ่งก็มีการคุยกันอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ ยังมีโครงการ Digital Infrastructure for Capital Market (DIF) ที่เป็นความร่วมมือของตลาดหลักทรัพย์ฯ สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สํานักงาน ก.ล.ต. CMDF และสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย จัดทํา DIF Web Portal ให้บริการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดแรกด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีการร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการช่วยทดสอบและสื่อสารให้ Issuer และ Underwriter เข้าใจถึงกลไกการทํางานของระบบ”

นักลงทุนรายบุคคลเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีบทบาทสําคัญของการพัฒนาตลาดทุน การให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักลงทุนในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามหลักวิชาการที่ถูกต้องจะช่วยให้นักลงทุนสามารถปกป้องผลประโยชน์ของตนเองได้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อทําหน้าที่ช่วยเหลือ ให้ความรู้ และเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อยในการปกป้องสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ได้พูดถึงภารกิจของสมาคมฯ ในการทําหน้าที่เป็นตัวแทนนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งหนึ่งในภารกิจนั้นคือการประเมินคุณภาพการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนว่า

“งานหลักที่ทําอยู่ก็คือการประเมินโดยทีมที่เรียกว่า ‘อาสาพิทักษ์สิทธิผู้ถือหุ้น’ ที่จะเข้าประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งถือว่าเป็นเวทีที่สําคัญสําหรับบริษัทจดทะเบียนในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยอาจจะเป็นการประชุมสามัญประจําปีหรือวิสามัญเวลามีเคสต่าง ๆ เกิดขึ้นมา เราจะช่วยประเมินบริษัทว่าเขาทําได้ดีหรือไม่ เพื่อนําไปปรับปรุงในภาพรวม เพื่อยกระดับคุณภาพการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียนทั้งระบบให้ดีขึ้น เรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอย่างดี

“ประเด็นแรกที่ประเมินคือการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยทั่วไปผู้ลงทุนรายบุคคลจะเข้าพบบริษัทยากกว่าผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้จัดการกองทุน ดังนั้น การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เช่น การตอบคําถามในที่ประชุมก็เป็นประเด็นหนึ่งที่เราพยายามพัฒนา และประเด็นที่สองคือเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลว่า ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ตรงตามเวลาไหม

“นอกจากนี้ ได้มีการยกระดับการช่วยเหลือและพิทักษ์สิทธิให้แก่นักลงทุนรายบุคคลในการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) กรณีได้รับความเสียหายจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)

“เรื่องใหม่ที่สมาคมฯ ได้รับมอบหมายและได้รับทุนจาก CMDF คือการจัดตั้ง
ศูนย์ช่วยเหลือนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สําหรับการดำเนินคดี
แบบกลุ่ม ซึ่งก็หวังว่าในที่สุดจะทําให้ Governance ของตลาดทุนดีขึ้นได้”

ยิ่งยง นิลเสนา
นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย

“เรื่องที่สองถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่สมาคมฯ ได้รับมอบหมายและได้รับทุนจาก CMDF คือการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือนักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สําหรับการดำเนินคดีแบบกลุ่มต้องยอมรับว่าเมื่อบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นก็อาจจะมีรายที่ไม่ค่อยดีนักหลุดรอดปนเข้ามาบ้าง ดังนั้น ทําอย่างไรให้ผู้กระทําผิดได้เห็นว่าถ้าทําอะไรไม่ดีจะได้รับผลตามมา และที่สําคัญนักลงทุนที่ได้รับผลกระทบควรได้รับการเยียวยา การฟ้องร้องคดีแบบกลุ่มก็จะเป็นวิธีการช่วยผู้เสียหายในเรื่องเดียวกันมารวมกลุ่มกันเพื่อฟ้องร้องได้ เมื่อศาลรับคดีกลุ่มและสั่งให้มีการชดใช้ค่าเสียหายก็จะชดใช้ให้กับทุกคนที่เข้าเงื่อนไขในกลุ่ม ผู้ที่คิดจะทําอะไรไม่ดีอย่างน้อยก็ชั่งใจว่าไม่อยากจะทํา ซึ่งก็หวังว่าในที่สุดจะทําให้ Governance ของตลาดทุนดีขึ้นได้”

การผสานความร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนไทยยังแผ่ขยายไปในระดับสากล โดยที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เข้าเป็นสมาชิกในสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (The World Federation of Exchanges: WFE) ในปี 2533 ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ไทยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความสนใจในระดับสากล อีกทั้งปี 2559 ยังมีบทบาทเป็นกรรมการสหพันธ์ตลาดหลักทรัพย์นานาชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นก้าวที่สําคัญ ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมและเอื้อต่อพัฒนาการของตลาดทุนไทยและภูมิภาค รวมทั้งเชื่อมโยงกับตลาดหลักทรัพย์อาเซียน และกลุ่ม Emerging Market

“การเดินทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ
มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม ความยืดหยุ่น
และความมุ่งมั่น ในการเป็น Exchange Platform
ที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ สําหรับนักลงทุน
และยังอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียน
บริษัทที่หลากหลาย”

Loh Boon Chye
ประธานกรรมการสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์โลก (WFE) และ CEO ของ Singapore Exchange (SGX Group)

Loh Boon Chye ประธานกรรมการสมาพันธ์ตลาดหลักทรัพย์ โลก (WFE) และ CEO ของ Singapore Exchange (SGX Group) เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยมีส่วนสําคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาคอย่างเด่นชัด

“ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้พัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งและมีส่วนสําคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและภูมิภาค การเดินทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม ความยืดหยุ่น และความมุ่งมั่น ในการเป็น Exchange Platform ที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพสําหรับนักลงทุน และยังอํานวยความสะดวกในการจดทะเบียนบริษัทที่หลากหลาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมดั้งเดิมไปจนถึงภาคธุรกิจเกิดใหม่ ซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต

“อีกทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีบทบาทสําคัญในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์อาเซียนและระดับโลก เช่น World Federation of Exchanges ในการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างโอกาสในการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การบูรณาการทางเทคโนโลยี และความร่วมมือด้านกฎระเบียบทําให้สามารถส่งเสริมระบบนิเวศทางการเงินที่มีความยืดหยุ่นและบูรณาการมากขึ้น และดึงดูดการลงทุนมายังภูมิภาค ทําให้เกิดการเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนของทั้งภูมิภาค

“นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้ร่วมกับกลุ่ม SGX ใน หลาย ๆ มิติ อาทิ การเชื่อมโยงตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ หรือ Depositary Receipt (DR) ไทย-สิงคโปร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงการลงทุนประเภท DR เป็นครั้งแรกในอาเซียน เป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมในการปูทางสําหรับความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มากขึ้นในการเชื่อมต่อข้ามพรมแดน”