Digital Transformation และ Universal Owner จุดเปลี่ยนเกมความยั่งยืน

จากแนวคิดขององค์กรขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมสู่การทำให้ ESG กลายเป็นเป้าหมายที่จับต้องได้ อีกหนึ่งเครื่องมือที่เข้ามาเปลี่ยนเกมของภาคธุรกิจ คือเรื่อง Digital Transformation เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ส่งผลให้ทุกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต้องปรับตัวขนานใหญ่ แต่จะมีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อการดําเนินงานภายใต้บรรษัทภิบาล รวมถึงกรอบแนวคิด ESG ที่ทั่วโลกหันมาให้ความสําคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

“ทุกวันนี้จะเห็นว่ามี Business Model ใหม่ ๆ
อย่าง Social Enterprise ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เข้ามาช่วย เพื่อทําให้เขาสามารถคืนประโยชน์
สู่สังคมได้ในต้นทุนที่ต่ำลง”

พชร อารยะการกุล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)

พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) คือหนึ่งในคนที่ทํางานคลุกคลีกับเรื่อง Digital Transformation มายาวนาน งานหลักที่บลูบิค กรุ๊ป เชี่ยวชาญ คือการให้คําปรึกษาด้านกลยุทธ์ (Management Consulting) แก่องค์กรภาคธุรกิจ ทั้งในและต่างประเทศที่กําลังเผชิญภาวะ Digital Disruption และไม่รู้ว่าควรวางแผนรับมืออย่างไร กระทั่งต้องวางกลยุทธ์หรือ Transform องค์กรไปในทิศทางไหน เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และในยุคที่ ESG คือสิ่งที่ต้องผสานรวมกับกลยุทธ์ขององค์กร ทั้งสองเรื่องนี้ จึงต้องมาควบคู่กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พชรมีมุมมองที่น่าสนใจว่า หากมองแบบผิวเผิน เรื่อง Sustainability กับ Digital Transformation อาจไม่เกี่ยวข้องกันนัก แต่เขากลับมองว่า ทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่อาจแยกขาดจากกัน จากการทํางานด้านดิจิทัลมาไม่ต่ํากว่า 10 ปี พชรชี้ให้เห็นแง่มุมที่เกี่ยวข้องกันของสองเรื่องนี้โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน ตามกรอบของ ESG ด้านแรกคือ E – Environmental การใช้ประโยชน์จากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี สามารถช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ตัวอย่างพื้นฐานที่สุดคือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยลดขั้นตอนหรือเปลี่ยนรูปแบบการทํางานบางประเภท เช่น งานเอกสารแบบเดิมที่เคยใช้กระดาษ สามารถเปลี่ยนเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ช่วยลดปริมาณขยะและการใช้พลังงานได้ หรือการที่ทุกวันนี้คนหันมาทํางานกันแบบไฮบริดมากขึ้น ก็สามารถช่วยลดการเผาผลาญพลังงานจากการเดินทางได้ ไปจนถึงสเกลใหญ่อย่างการใช้ AI มาช่วยตรวจจับการปล่อยมลพิษในอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เป็นต้น ด้านที่สอง คือ S Social การมีสื่อออนไลน์หรือโซเชียลมีเดีย มีส่วนอย่างมากในการเข้าถึงและ Engage กับคนหมู่มากได้ โดยไม่จําเป็นต้องใช้การสื่อสารแบบ ‘ออฟไลน์’ อีกต่อไป “สมมติวันนี้เราต้องการเผยแพร่ Knowledge หรือ Know-how สักอย่าง เราไปนั่งสอนทีละคลาส กับเราทําคอร์สออนไลน์แล้วสตรีมออกไปให้คนดูเยอะ ๆ การเข้าถึงก็ต่างกันแล้ว ยังไม่นับว่าต้นทุนในการเข้าถึงผู้คน มันลดลงจากแต่ก่อนเยอะมาก ฉะนั้นการที่เราจะ Contribute บางอย่างสู่สังคม ก็ทําได้ง่ายขึ้น ทุกวันนี้จะเห็นว่ามี Business Model ใหม่ Enterprise ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อทําให้เขา สามารถคืนประโยชน์สู่สังคมได้ในต้นทุนที่ต่ำลง”

ด้านที่สาม คือ G – Governance เทคโนโลยีดิจิทัลคือตัวช่วยสําคัญที่เข้ามาเสริมเรื่องความโปร่งใส การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล “ลองนึกภาพบริษัทที่ไม่มีระบบควบคุมที่รัดกุม ไม่มีระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เขาจะควบคุมยังไง ถ้าใช้เอกสารแบบเดิมก็เสี่ยงต่อการปลอมแปลงหรือสูญหาย แต่ถ้าเราใช้ระบบงานดิจิทัลเข้ามาช่วยควบคุม เป็นระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ดี มีความปลอดภัย ไม่ใช่ใครเข้าไปแก้ก็ได้ แบบนี้ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการบริหารบริษัทย่อมดีขึ้นแน่นอน ถ้ามองในมุมนักลงทุน การที่บริษัทมีความโปร่งใส สามารถเปิดเผยข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ จะยิ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นด้วย” ในอีกด้านหนึ่ง พชรยอมรับว่า สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเรื่องใหม่พอสมควรในสังคมไทย สัญญาณที่ดีคือเริ่มมีหลายภาคส่วนที่ตระหนักและหันมาให้ความสําคัญอย่างจริงจังแล้ว โดยเฉพาะภาคธุรกิจใหญ่ ๆ “เรื่องความยั่งยืนขององค์กร เรื่อง Sustainability ตอนนี้เป็นเรื่องสําคัญมาก เพราะตัวเราหรือธูรกิจของเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก โลกตอนนี้เชื่อมต่อกันหมด หมายความว่าสิ่งที่เราทํา ย่อมมีผลกับคนอื่น มีผลกระทบต่อโลกและสังคมในทางใดทางหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อคนอื่นได้รับผลกระทบ สิ่งเหล่านั้นย่อมกระทบกลับมาหาเราวันใดวันหนึ่งเช่นกัน” พชรกล่าวทิ้งท้าย นอกจากการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อให้องค์กรไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนในระยะยาวแล้ว อีกหนึ่งแนวคิดที่สําคัญ คือแนวคิดที่เรียกว่า Universal Owner ที่นักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่กําลังยึดถือเป็นเข็มทิศสําหรับการเข้าลงทุน นักลงทุนแบบ Universal Owner จะให้ความสําคัญกับการลงทุนในบริษัทที่มีการดําเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ โดยใช้ปัจจัยด้าน ESG มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสของธุรกิจ จากนั้นจึงจะสนับสนุนการลงทุนที่มีผลกระทบที่ดีทางสิ่งแวดล้อมและสังคมนักลงทุนแบบ Universal Owner จะให้ความสําคัญกับการลงทุน ในบริษัทที่มีการดําาเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ โดยใช้ปัจจัยด้าน ESG มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยง และโอกาสของธุรกิจ จากนั้นจึงจะสนับสนุนการลงทุนที่มีผลกระทบที่ดีทางสิ่งแวดล้อมและสังคม ศรีกัญญา ยาทิพย์ อดีตเลขาธิการกองทุนบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการ (กบข.) ขยายความเพิ่มเติมถึงแนวคิด Universal Owner ในฐานะนักลงทุนสถาบันว่า “คําว่า Universal Owner หมายความว่า เราเป็นเจ้าของทุกกิจการที่เราไปลงทุนทั่วโลก เพราะเราลงทุนทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะในไทย แล้วในเมื่อทุกบริษัท ทุกกิจการ ต่างก็ใช้ทรัพยากรของโลกในการทําธุรกิจ แสดงว่าเราเป็นหนี้ของการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อสร้างผลกําไรให้เรา นี่คือหลักคิดของ Universal Owner” เธอเล่าต่อว่า เมื่อหลักคิดเป็นเช่นนี้ สิ่งที่นักลงทุนต้องคํานึงเป็นลำดับถัดมาคือ ในเมื่อกำไรที่เราได้มาจากการลงทุนนั้นมาจากการลิดรอนและบั่นทอนทรัพยากรโลก หมายความว่า เราก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อการดูแลทรัพยากรเหล่านั้นไม่ให้เสียหายจนเกินไป หรือทําสิ่งอื่นเพื่อทดแทนหรือชดเชย เพื่อในท้ายที่สุดแล้ว คนรุ่นหลังจะได้มีโอกาสใช้ทรัพยากรเหล่านี้ต่อไป “ในฐานะผู้ลงทุนสถาบัน จึงมองว่าเราต้องคํานึงถึงสิทธิของคนที่อยู่ใน Ecosystem ของการลงทุนด้วย ถ้าเราลงทุนไปโดยที่ไม่สนใจว่าแรงงานจะเป็นยังไง ถูกใช้เป็นทาสก็ใช้ไปแค่ลงทุนแล้วกําไรก็พออย่างนั้นหรือ ถามว่าเราดูดายได้ไหมถ้าจะเอาแต่ผลประกอบการอย่างเดียว ในระยะสั้นอาจดูดายได้ แต่ระยะยาว กิจการเหล่านั้นก็ไม่ยั่งยืนอยู่ดี เราไม่ควรเอาเปรียบสังคมเพียงเพราะหวังกําไรอย่างเดียว โดยไม่สนใจว่า Ecosystem จะพังทลายหรือไม่ เรื่องนี้สําคัญมาก” มิติที่เธอให้ความสําคัญในฐานะผู้บริหารกองทุน คือการสานต่อเจตนารมณ์ของ กบข. ในการสร้างผลตอบแทนควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนของสังคม มีการจัดทํา ESG-Integrated Due Diligence รวมถึงสร้างความร่วมมือกับธนาคารโลก จัดทํารายงาน “วิธีการประเมินน้ําหนักและคะแนนมูลค่าสินทรัพย์ ลงทุนของ กบข. ตามหลักที่คํานึงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล” (ESG Weight and Score: Asset Valuation Methodology)

“เมื่อทุกบริษัท ทุกกิจการ
ต่างก็ใช้ทรัพยากรของโลกในการทําธุรกิจ
แสดงว่าเราเป็นหนี้ของการใช้
ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อสร้างผลกําไรให้เรา”

ศรีกัญญา ยาทิพย์
อดีตเลขาธิการกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.)

นอกจากการใช้ปัจจัย ESG เป็นส่วนหนึ่งในการลงทุนของ กบข. อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ศรีกัญญามองมากไปกว่านั้นคือ ต้องสามารถวัดผลสิ่งที่ทําได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้

ศรีกัญญาอธิบายเพิ่มเติมว่า การให้ความสําคัญเรื่องความยั่งยืนทุกวันนี้ หลุดพ้นจากความเป็นกระแสหรือแฟชั่นไปสู่เรื่องที่ทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องหันมาให้ความสําคัญและลงมือทําอย่างจริงจัง ทว่าในบริบทของประเทศไทย ยังถือว่ามีความท้าทายในแง่การบังคับใช้และดัชนีชี้วัดที่ยังไม่มีมาตรฐานและการกํากับดูแลที่ชัดเจน

“ส่วนตัวคิดว่ามันเคลื่อนมาสู่จุดที่ทุกคนไม่ตั้งคําถามแล้วว่า ทําไมต้องทํา แต่ความยากของจุดนี้อยู่ตรงที่ว่า ตอนนี้ต่างคนต่างทำ โดยไม่มีผู้น่าหรือเจ้าภาพที่ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ ทําให้ไม่มีมาตรฐานหรือดัชนีชี้วัดที่ชัดเจน

“วิธีที่คิดว่าเป็นไปได้ คือการสร้างระบบที่มีการบริหารร่วมกันของทุก Stakeholders ในรูปแบบของ Joint-committee แบบที่สิงคโปร์ทํา ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ฯ นักลงทุน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงตัวแทน SMEs ที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน กลุ่มเหล่านี้ต้องเข้ามาร่วมทํางานด้วยกัน เพื่อที่จะตั้งเกณฑ์ให้ได้ว่าเกณฑ์ที่ต้องการเป็นแบบนี้แล้วหาให้เจอว่าตอนนี้คุณห่างจากเกณฑ์เท่าไหร่”

ด้าน ชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) ให้มุมมองในฐานะที่ทํางานกับนักลงทุนอย่างใกล้ชิดว่า ปัจจุบันนักลงทุนกําาลังโฟกัสในกิจการที่ให้ความสําคัญกับเรื่องความยั่งยืน นั่นหมายถึงโอกาสมหาศาลสําหรับองค์กรที่กําลังเปลี่ยนผ่านกระบวนการดำเนินงานไปสู่แนวทาง ESG อย่างเต็มตัว

“เราเชื่อว่า ESG เป็นปัจจัยสําคัญของการทําธุรกิจในอนาคต เดี๋ยวนี้เวลานักลงทุนพิจารณาว่าจะลงทุนในบริษัทไหน เขามองเรื่องความยั่งยืนอย่างจริงจังมาก ๆ ไม่ใช่แค่กับบริษัทที่เขาจะลงทุนด้วยเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงบริษัทคู่ค้าในระบบนิเวศด้วย ต่อไปนี้ หากคุณเป็นบริษัทที่ยังใช้คู่ค้าที่ไม่ได้ให้ความสําคัญกับความยั่งยืน นักลงทุนจะปฏิเสธคุณ

ปัจจุบันสมาคมบริษัทจัดการลงทุนได้ร่วมมืออย่างเข้มข้นกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการยกระดับการดําเนินงานด้าน ESG ของบริษัทจดทะเบียน โดยยกตัวอย่างบทบาทของนักลงทุนสถาบันในการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนเห็นความสําคัญของประเด็น ESG

“เราเชื่อว่า ESG เป็นปัจจัยสําคัญ
ของการทําธุรกิจในอนาคต
เดี๋ยวนี้เวลานักลงทุนพิจารณาว่าจะลงทุน
ในบริษัทไหน เขามองเรื่องความยั่งยืน
อย่างจริงจังมาก ๆ ไม่ใช่แค่กับบริษัทที่เขา
จะลงทุนด้วยเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงบริษัทคู่ค้า
ในระบบนิเวศด้วย”

ชวินดา หาญรัตนกูล
นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)

“นักลงทุนสถาบันพยายามเป็นตัวช่วย โดยผลักดันให้บริษัทรู้ว่า ESG เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ เช่น เมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่บริษัทไม่ปฏิบัติหรือไม่ให้ความสําคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล สมาคมฯ จะเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนนั้น ส่งจดหมายไปถามว่าบริษัทจะปรับปรุงอย่างไร ถ้าบริษัทไม่ปรับปรุงสมาคมฯ มีนโยบายว่าจะแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ก.ล.ต. IOD เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลบริษัทที่ไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องของนักลงทุน”