Digital Assets ความท้าทายใหม่ ของตลาดทุนไทยในการหาจุดสมดุล

เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่อาจเลี่ยงได้จากพัฒนาการทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (Al) และ Machine Learning (ML) ณ ปัจจุบัน ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ถูกนํามาใช้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนานําไปสู่การสร้างแพลตฟอร์มและบริการรูปแบบใหม่ที่ฉลาดไปอีกขั้น

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในฐานะศูนย์กลางของตลาดทุนจึงต้องเตรียมความพร้อมหลากหลายด้านที่จะกลายเป็นความท้าทายในอนาคต 

แม้จะปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว แต่สปีดของเทคโนโลยีก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการลงทุนในด้าน Digital Assets ที่กําลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ขณะเดียวกันเบื้องหลังยังมีเทคโนโลยีอย่าง Blockchain คอยขับเคลื่อนให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งเหล่านี้คือโจทย์ใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องมองอย่างรอบด้าน และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับความต้องการใหม่ ๆ ของนักลงทุนเช่นกัน

“อยากเห็นตลาดหลักทรัพย์ฯ
สร้าง Common Infrastructure มากขึ้น
เพื่อลดต้นทุนให้แก่อุตสาหกรรม
โดยภาพรวม รวมถึงนักลงทุน
จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นกลาง
และเท่าเทียมกัน”

อารักษ์ สุธีวงศ์
ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จํากัด

อารักษ์มองเห็นความเป็นไปได้ของการระดมทุนแบบ ICO หรือ Initial Coin Offering โดยเขามองว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ ของการเข้าถึงตลาดทุนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีกระบวนการที่ง่ายและต้นทุนต่ำกว่าการระดมทุนรูปแบบอื่น ทําให้การเข้าถึงสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน หลาย ๆ ประเทศกําลังให้ความสําคัญเรื่องนี้มากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า ‘Tokenization’ ขณะเดียวกันในไทยเองก็มีหลายบริษัทที่มีศักยภาพพร้อม

ชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ให้มุมมองเกี่ยวกับความน่าสนใจของ Digital Assets ว่า “Digital Assets มีส่วนที่เป็นความสวยงามคือความรวดเร็วในการลงทุน ลงทุนได้ 24/7 ลงทุนได้ตลอดเวลา จึงอาจต้องพิจารณาว่าถ้าความรวดเร็วเป็นปัจจัยสําคัญของการลงทุนเราต้องช่วยกันพัฒนาในส่วนนี้ให้ตลาดทุนไทยยังคงดึงนักลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและมีการเติบโตต่อไปในอนาคต” 

ขณะที่สมภพให้มุมมองเกี่ยวกับความท้าทายอีกด้านที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จําเป็นต้องเร่งทําว่า Digital Transformation หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเป็นสิ่งสําคัญและเป็นบทบาทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องพัฒนาเพื่อรองรับการออก Product ใหม่ในยุคดิจิทัล ซึ่งวันนี้เองก็เริ่มเห็นบริษัทจดทะเบียนออก Token มาใช้เป็นเครื่องมือระดมทุนทั้ง SiriHub, GDH ซึ่งเป็นแนวของการระดมทุนในรูปแบบใหม่ภายใต้เงื่อนไขของ Blockchain

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจําเป็นต้องมี Roadmap และการเตรียมพร้อมเพื่อพัฒนา Infrastructure เข้าสู่การเป็น Digital Exchange เพื่อเตรียมพร้อมการก้าวไปสู่อนาคตอย่างมั่นใจ โดยพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่เพื่อใช้เชื่อมต่อการซื้อขาย จาก ‘สินทรัพย์ปัจจุบัน’ ไปสู่ ‘สินทรัพย์ดิจิทัล’ รวมไปถึงเป็นการต่อยอดนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้นักลงทุนเกิดความไว้วางใจ

ด้านชาญชัยให้มุมมองว่า โลกของ Digital Assets อาจจะเรียกว่าเป็น Fractional ของตราสารที่เอื้อประโยชน์ให้นักลงทุน ที่เป็นเจเนอเรชั่นใหม่ให้ก้าวเข้ามาลงทุน ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญที่อาจจะต้องย้อนกลับมาดูว่าเราสามารถที่จะสนับสนุนหรือสร้าง Environment ที่ดีให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ได้หรือไม่ หรืออย่างน้อยที่สุดสามารถที่จะสร้างการออมหรือการลงทุนให้กับนักลงทุนรุ่นใหม่ ๆ ที่จะเติบโตขึ้นมาในอนาคต

“ความท้าทายก็คือความเปลี่ยนไปของโลก โดยส่วนตัวผมคิดว่าความท้าทายใหญ่สําหรับตลาดทุนคือ Digital Assets ที่กําลังเข้ามา ถามว่าจะเข้ามาในรูปแบบใดก็ยังไม่มีความชัดเจน แต่ผมคิดว่ามีโอกาสเข้ามาทดแทนรูปแบบการลงทุนเดิม ๆ ได้อย่างมาก ถ้าวันนี้เราเอาโลกใหม่เข้ามา เราใช้ระบบ Blockchain วินาทีที่เราซื้อเสร็จ Registrar ก็จะเสร็จในตัว


ICO หรือ Initial Coin Offering คือการระดมทุนแบบดิจิทัลรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการเสนอขายโทเคนดิจิทัลแก่นักลงทุนที่สนใจ

โดยใช้วิธีนำเงินบาทหรือคริปโทเคอร์เรนซีที่สํานักงาน ก.ล.ต. กําหนดมาจองซื้อโทเคนดิจิทัลที่ออกโดยบริษัทผู้ระดมทุนที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. ซึ่งผู้ที่ลงทุนใน ICO จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ระบุไว้ เช่น ส่วนแบ่งรายได้หรือกําไรจากกิจการ ส่วนลดพิเศษในการซื้อ หรืออภิสิทธิ์ในการรับสินค้าหรือบริการ ที่เฉพาะเจาะจงตามที่แจ้งไว้ในเอกสารประกอบการเสนอขาย ผู้ที่ลงทุนใน ICO ได้ จะต้องเป็นผู้ลงทุนตามที่ ก.ล.ต. กําหนด เช่น ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนรายใหญ่ เป็นต้น

“ความท้าทายก็คือ
ความเปลี่ยนไปของโลก
โดยส่วนตัวผมคิดว่าความท้าทายใหญ่
สําหรับตลาดทุนคือ Digital Assets
ที่กําลังเข้ามา”

ชาญชัย กงทองลักษณ์
ประธานกรรมการ ชมรมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (A Club) สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย

เพราะฉะนั้นน่าจะลดต้นทุนในการทํา Transaction ได้ และสะดวกรวดเร็วรวมไปถึงการออกตราสาร หรือ IPO ทุกอย่างก็ผ่าน Blockchain วันรุ่งขึ้นก็เทรดได้แล้ว แต่ยังต้องมีกฎหมายที่จะรองรับอีกมากเพราะบางครั้งสิ่งที่เราอยากจะทําโลกของเทคโนโลยีมันไปแล้ว แต่โลกของกฎหมายยังตามไม่ทัน ดังนั้น ปัญหาใหญ่คงเป็นเรื่องการทํายังไงให้กฎหมายสอดคล้อง และรองรับสิทธิต่างๆ”
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้เอง TDX หรือบริษัท ศูนย์ซื้อขาย สินทรัพย์ดิจิทัลไทย จํากัด จึงถือกําเนิดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ที่มองไกลไปยังอนาคตของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมุ่งมั่นที่จะทําให้ Digital Token เป็นทางเลือกใหม่สําหรับการระดมทุนและการลงทุนภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างสมดุล

TDX ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่ช่วยสนับสนุนบริการของศูนย์ซื้อขาย Digital Token ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่าการทําธุรกรรมมีความปลอดภัย โปร่งใส และเป็นกลาง โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้น จะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

โดยรวมแล้ว TDX สามารถเป็นได้ทั้ง Market Operator, Market Promoter, Market Accelerator ซึ่งเมื่อรวมบทบาทเหล่านี้ก็จะสามารถพัฒนาให้กลายเป็น Key Player ในการพัฒนาตลาดทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตคล้ายกับที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยเป็นและยังคงเป็นอยู่เรื่อยมา

TDX ก้าวใหม่สู่โลกดิจิทัล ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
                 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลใหม่ ที่ชื่อว่า Thailand Digital Asset Exchange หรือ TDX ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทโทเคนดิจิทัล โดย TDX มีความมุ่งมั่นที่จะทําให้โทเคนดิจิทัลเป็นทางเลือกใหม่ ที่มีความน่าสนใจและสามารถเข้าถึงลูกค้าในทุกระดับ
                TDX ให้บริการศูนย์ชื้อจายสินทรัพย์ดิจิทัลรองรับการเสนอขาย การซื้อขายแลกเปลี่ยน สินทรัพย์ประเภทโทเคนดิจิทัล นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ทั้ง Investment Tokens และ Utility Tokens 
                หนึ่งในโทเคนดิจิทัลแรก ๆ ที่ได้รับความสนใจ คือ RealX โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ที่เข้าจดทะเบียนซื้อขายใน TDX เปิดให้นักลงทุนเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566
               การเปิดตัวของ TDX นี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ กําลังเตรียมตัวสําหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่เปิดโอกาสใหม่ในการลงทุนและการระดมทุน แต่ยังส่งเสริมนวัตกรรมและการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีขอบเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม ด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง