จากซ้ายไปขวา – อัจฉราภร ศรีสุโข (ออม) ศิริพงษ์ ไพศาลคงทวี (พงษ์)
ปนัดดา เพิ่มประโยชน์ (กบ) ธนวัสน์ สุปัญจนันท์ (วัสน์)
ณัฐยา ตันเจริญ (ชมพู่) ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี (บู๊ท) และ จุติ วนสุนทรวงศ์ (ท๊อป)

“ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เป็นแค่ศูนย์กลางตลาดทุน
แต่เป็นกลไกที่ทําให้ตลาดทุน ‘Make It Work for Everyone’
โดยเฉพาะในเรื่องการให้ความรู้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน”

CAPITAL MARKET EDUCATION
สร้างสรรค์ความรู้ทางการเงินสู่สังคมอย่างยั่งยืน

การเงินมีบทบาทสําคัญต่อทุกแง่มุมของชีวิต ความรู้ทางการเงินจึงเป็นทักษะพื้นฐานและกุญแจไขประตูสู่ความมั่นคง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาสาเข้ามาทําหน้าที่ให้ความรู้แก่ทุกฝ่าย และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทําให้ความรู้ทางการเงินมีมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ทีม Capital Market Education คือทีมหลักในการรับภารกิจที่ท้าทาย เพื่อให้สังคมไทยได้รับความรู้ทางการเงินเพื่อความมั่นคงของชีวิต ขณะที่สภาวะแวดล้อมในการให้ความรู้เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สมาชิกของทีมก็ต้องไม่หยุดนิ่งแต่ปรับตัวอยู่เสมอ

“ความรู้คือรากฐานของทุกอย่าง เราต้องอัพเกรดตัวเองไปพร้อม ๆ กับนักลงทุน หลักสูตรที่เคยยาวต้องถูกปรับให้สั้นลง และพัฒนารูปแบบเนื้อหาให้เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่างเช่น หุ้นคืออะไร? บางทีต้องใช้เวลาเล่าเป็นชั่วโมง แต่เราก็พยายามพัฒนาสื่อในรูปแบบ TikTok ด้วย เพื่อเข้าถึงคนกลุ่มใหม่ ๆ เพราะปัจจุบัน คนไม่ได้ต้องการเพียงแค่ความรู้ แต่อยากได้ความบันเทิงไปพร้อมกัน” เป็นคําบอกเล่าของ อัจฉราภร ศรีสุโข (ออม) เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน

การเติบโตของอัจฉราภรเป็นเรื่องราวที่อาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายคนได้ เธอเล่าถึงประสบการณ์การทํางานที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษามีโอกาสจับพลัดจับผลูเข้าอบรมโครงการใน Young Financial Star Competition (YFS) ซึ่งมีเป้าหมายคือการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่คนรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในสายการเงิน วันเวลาผ่านไปจากผู้เข้าอบรมก็กลายมาเป็นผู้จัดโครงการเสียเอง อัจฉราภรบอกว่า SET DNA อันเปรียบดั่งแรงผลักดันสําคัญที่ส่งเธอมาจนถึงจุดนี้คือ ‘Proactive’ และ ‘Proficient’

ไม่ใช่เพียงนักลงทุนรายย่อย ฝั่งผู้ประกอบการเองก็เป็นภาคส่วนที่ขาดไม่ได้ในระบบนิเวศของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจําเป็นต้องมีความรู้ทางการเงินอย่างถูกต้องเหมาะสม ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี (บู๊ท) ผู้ช่วยผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ ขยายความให้ฟังว่า

“ฝ่ายผู้ประกอบการเป็นฝ่ายน้องใหม่ เราทําหน้าที่เตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียนเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผ่านการพัฒนาสื่อสําหรับผู้ประกอบการ รวมถึงคนที่สนใจจะเป็นผู้ประกอบการ แล้วหลังจากนั้นเราจะอยู่คู่กับพวกเขา เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงิน ตลอดจนปั้นธุรกิจเหล่านั้นให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาว ถ้าเป้าหมายอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการคือการเสนอขายหุ้นบริษัทตัวเองให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ทีมของเราก็จะช่วยทําให้ฝันนั้นเป็นจริง”

ณฤทธิ์ผูกพันกับโครงการให้ความรู้ของตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตั้งแต่ก่อนเข้ามาทํางานที่นี่แล้ว “ผมรู้จักตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ ม.4 เคยเข้าโครงการนักธุรกิจรุ่นเยาว์ และอ่านหนังสือ พ่อรวยสอนลูก พอได้เข้ามาทํางานในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ให้แก่บุคคลภายนอกเท่านั้น แต่มีโครงการ SET Innovation Awards ส่งเสริมให้พนักงานเป็น Catalyst of Change ริเริ่มการมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการและมีความเป็น Teamwork โดยให้ส่งโครงการมา Pitch แข่งขันกัน ซึ่งนอกจากจะทําให้เข้าอกเข้าใจการเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการพัฒนาบุคลากรที่เปิดกว้างมาก ๆ

“เหตุการณ์ประทับใจคือมีอยู่ครั้งหนึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้โอกาสทีมที่ตกรอบไปแล้วกลับมา Pitch อีกครั้งเป็นเวลา 1 นาที จนท้ายที่สุดทีมนั้นก็สามารถกลับเข้ามาได้และชนะอันดับสอง” ณฤทธิ์เล่าด้วยน้ำเสียงปลาบปลื้ม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดโอกาสให้พนักงานได้คิด และถึงแม้จะทําผิดพลาดก็ยังมีโอกาสแก้ไข แล้วสุดท้ายเมื่อชนะอุปสรรคได้ก็จะเดินไปได้ไกลกว่าเดิม

นอกจากนี้ ณฤทธิ์ยังเล่าด้วยว่าล่าสุดเพิ่งได้รับคำชวนให้เป็นพิธีกรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในรายการออนไลน์ที่กําลังเกิดขึ้นใหม่ เรียกว่าการได้ทํางานที่นี่ อะไรที่ไม่เคยทํา ก็จะได้ทดลองทำ มีโอกาสเป็น Catalyst of Change อยู่เสมอ สะท้อนอย่างแจ่มชัดว่าถ้าองค์กรไม่เคยหยุดนิ่ง พนักงานก็ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองเช่นกัน

อีกหนึ่งจุดเด่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือการสร้างความเป็นมืออาชีพ (Professional) ให้แก่บุคลากรในแวดวงตลาดทุน เช่น ผู้แนะนําการลงทุน นักวิเคราะห์การลงทุน ซึ่งในบทบาทหน้าที่นี้ ศิริพงษ์ ไพศาลคงทวี (พงษ์) ผู้อํานวยการอาวุโส และ จุติ วนสุนทรวงศ์ (ท๊อป) ผู้ช่วยผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้ ถือเป็นกําลังสําคัญ

ศิริพงษ์เล่าว่าหน้าที่หลักของฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ คือการจัดอบรมและบริหารจัดการการสอบเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเสริมสร้างให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม Professional Link เป็น Application อํานวยความสะดวกเพื่อการอบรมในหลักสูตร รวมถึงการต่ออายุใบอนุญาตสําหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

“Professional Link เป็นหนึ่งในผลงานภาคภูมิใจที่พวกเราเคยส่งเข้าประกวดใน SET Innovation Awards จนได้นํามาใช้จริงและกลายเป็นเพื่อนคู่ใจผู้ประกอบวิชาชีพในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน นอกจากนั้น ยังมีอีกหนึ่งประจักษ์พยานของความสําเร็จในการพัฒนาบุคลากรไทย ที่ได้เป็นแบบอย่างในระดับภูมิภาค คือการที่ตลาดหลักทรัพย์เพื่อนบ้าน เช่น ลาว และกัมพูชาได้มาขอให้เราไปช่วยพัฒนาหลักสูตรสร้างบุคลากรในตลาดทุนของเขา”

“เราต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีความ Proactive
พร้อมรับความท้าทายที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงจะอยู่อย่างเข้มแข็ง
และตอบโจทย์ความยั่งยืนของเศรษฐกิจได้”

นอกจากบทบาทข้างต้น ปัจจุบันทีมของพวกเขามีภารกิจเพิ่มเติมในการดูแลมาตรฐานความรู้ด้วย จุติเปรียบเทียบว่า โปรเจกต์นี้ถือเป็นการ ‘Transform’ ครั้งใหญ่เลยทีเดียว “เราเริ่มต้นจากศูนย์ เรียกว่าใช้ทุก SET DNA เลย โดยเฉพาะ Leadership นําพาทุกคนมาทํางานร่วมกันเป็นทีมเวิร์ก ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน และ Facilitate ซึ่งกันและกัน สําหรับผมแล้ว การทํางานกับ Professional เรายิ่งต้อง Professional และที่สําคัญต้องมี Integrity กับสิ่งที่ทํา” 

การรักษาหลักการเหล่านี้ด้วยความแน่วแน่เป็นสิ่งสําคัญมาก พวกเขาพยายามถ่ายทอดคุณค่าเหล่านี้ให้แก่บุคลากรรุ่นใหม่ ๆ ที่เข้ามาอบรมด้วย ทั้งคู่ยืนยันว่ามีความสุขทุกครั้งที่เห็นน้อง ๆ ที่เคยมาเข้าอบรมจนคุ้นหน้าคุ้นตากันในวันนั้นประสบความสําเร็จก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพได้ทุกวันนี้

อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง ทว่าช่วยเติมเต็มภูมิทัศน์การให้ความรู้ทางการเงินให้รอบด้านขึ้น นั่นคือการให้ความรู้แก่ผู้กําหนดนโยบาย ธนวัสน์ สุปัญจนันท์ (วัสน์) ผู้อํานวยการ สถาบันวิทยาการตลาดทุน เล่าถึงหลักสูตรอบรมสําหรับผู้กําหนดนโยบาย รวมถึงผู้บริหารระดับสูงจากแวดวงต่าง ๆ ว่า

“ความคิดของผู้กําหนดนโยบายต้องมาจากความรู้ทางการเงินที่ถูกต้อง ปัจจุบันเรามองไปไกลกว่าประเทศไทย เพราะมีหลักสูตร International Program ที่ใช้ชื่อว่า CMA-GMS (Capital Market Academy Greater Mekong Subregion) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารระดับสูง และเจ้าของกิจการใน 6 ประเทศของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง ซึ่งเดิมทีเราเคยคิดว่าไม่พร้อม แต่มีโค้ชเคยบอกผมว่าถ้าไม่พร้อมให้เริ่มเลย พวกเราจะหาทางบรรลุเป้าหมายได้เอง”

ธนวัสน์มั่นใจว่าสําหรับก้าวต่อไปของตลาดหลักทรัพย์ฯ คือการก้าวข้ามจาก ‘ผู้ตาม’ มาเป็น ‘ผู้นํา’ ได้อย่างเต็มตัว

การที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีคําอันทรงเกียรติว่า ‘แห่งประเทศไทย’ ต่อท้ายชื่อองค์กร คือการประกาศว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความตระหนักรู้ (Awareness) ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมอยู่เสมอ ธนวัสน์หยิบภาพถ่ายใบหนึ่งขึ้นมาให้ดู เป็นภาพผู้ชาย 3 คน ประกอบด้วย คุณสมพล เกียรติไพบูลย์ อดีตประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุณจรัมพร โชติกเสถียร อดีตกรรมการ และผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ และตัวคุณวัสน์เอง ทั้งสามกําลังยืนอยู่บนรถจีเอ็มซีขณะลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ําท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 เขาต้องการจะสื่อว่ามันคือการแสดงให้เห็นถึง Partnership ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีต่อสังคม

นอกจากจะเป็นกลไกที่ช่วย Matching the Right Opportunity เพื่อ ‘Make It Work for Everyone แล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังเปรียบเสมือน Land of Opportunity โดยสิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบให้ทั้งคนนอก คนใน และสังคมรอบข้างคือความรู้ทางการเงิน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เป็นแค่ศูนย์กลางการลงทุนและการระดมทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกสําคัญที่ทําให้ตลาดทุน Make It Work for Everyone โดยเฉพาะในเรื่องการให้ความรู้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน และนี่คือสิ่งที่ทุกคนในทีม Capital Market Education เห็นพ้องต้องกัน

ย้อนกลับไปมองบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วง 5 ทศวรรษที่ผ่านมา การให้ความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ถือเป็นภารกิจสําคัญที่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ท่านที่ 5 เคยวางรากฐานไว้ให้ โดย ปนัดดา เพิ่มประโยชน์ (กบ) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน ฝ่ายพัฒนาความรู้การเงินขั้นพื้นฐาน ผู้เคยสัมผัสกับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ช่วงแรกของตลาดหลักทรัพย์ฯ สมัย ดร.มารวย เล่าให้ฟังว่า

“แต่ก่อนเราใช้วิธีเคาะกระดาน พี่ต้องส่องกล้องทางไกลเพื่อดูหุ้นบนกระดานแล้วรายงานไปทางโทรทัศน์บ้าง ทางวิทยุบ้างแข่งกับเวลา เพราะนักลงทุนต้องการข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็วจากนั้นจึงเปลี่ยนไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์”

ปนัดดาเน้นย้ําว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ปัญหาแต่คือโอกาส เห็นได้จากในเวลาต่อมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสําคัญกับการให้ความรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เริ่มผลิตหนังสือความรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุน เพื่อให้เป็นช่องทางในการเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจลงทุนในยุคที่หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนไม่เยอะเหมือนสมัยนี้ ส่งผลทําให้หนังสือของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการตอบรับดีมาก บางเล่มถึงกับพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้หยุดแค่นั้น เพราะโอกาสใหม่ ๆ สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ จนปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ฯ มีพิพิธภัณฑ์เป็นของตัวเอง นั่นคือ พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน INVESTORY อีกหนึ่งรูปแบบของการให้ความรู้ทางการเงิน

“พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน (INVESTORY) ถือเป็นพิพิธภัณฑ์การลงทุนแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งทุกวันนี้ยังคงเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยด้วย ตอนแรกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ก็รู้สึกตื่นเต้น เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ตัวเองและตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่เคยทํามาก่อน มาถึงวันนี้ก็รู้สึกภูมิใจที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงเยาวชนและประชาชนที่สนใจลงทุนได้ดี”

นอกจากจะมีผู้สนใจมาใช้บริการอย่างต่อเนื่องแล้วตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเพื่อนบ้านยังให้ความสนใจมาเยี่ยมชมดูงานกันด้วย ปนัดดาทิ้งท้ายว่า “อยากให้มองการเปลี่ยนแปลงเป็นความท้าทาย ถ้าเราทําสําเร็จก็จะเป็นความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ให้กับทุกคน”

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดที่อยู่ในชั้นเดียวกันติดกับพิพิธภัณฑ์ INVESTORY จะเป็นสิ่งใดไปไม่ได้นอกจาก ห้องสมุดมารวย อันเลื่องชื่อว่าถ้าได้เข้ามาศึกษาความรู้ทางการเงินอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมจะพบหนทาง ‘รวย’ กลับไปอย่างแน่นอน อย่างน้อยที่สุดก็ ‘รวยในความรู้’

ณัฐยา ตันเจริญ (ชมพู่) ผู้ช่วยผู้บริหารงาน ฝ่ายพัฒนาความรู้การเงินขั้นพื้นฐาน เล่าอย่างอารมณ์ดีว่า ‘ห้องสมุดมารวย’ เปิดทุกวัน ไม่เว้นวันหยุด เข้าฟรี มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ นอกจากนั้น ยังมีฐานข้อมูลของหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์หรือองค์ความรู้การลงทุนด้านอื่น ๆ ให้กลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นอาจารย์ นักศึกษา เรียกว่า ‘SET Fin Lab’ ช่วงแรก ๆ ที่ตั้ง SET Fin Lab ขึ้นมามีมหาวิทยาลัยนําร่องที่มาใช้บริการเพียง 8 แห่ง แต่ปัจจุบัน มี 50 กว่าแห่ง และมีการจองรอบเข้าใช้บริการทุกวัน ซึ่งกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ทีมงานทุ่มเทการทํางานให้ SET Fin Lab เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

นอกจากองค์ความรู้ต่าง ๆ มากมายในเรื่องของการเงิน การลงทุนแล้ว ห้องสมุดมารวยเป็นเหมือนที่พักผ่อนหย่อนใจกลาย ๆ และถึงแม้จะเป็นห้องสมุดก็อย่าได้คิดว่าจะไม่เจอความท้าทาย เพราะในช่วง COVID-19 มีการปิดพื้นที่ทําให้ต้องมีการปรับการดําเนินการในหลายเรื่อง

“เรื่องหนึ่งที่เราปรับคือ ปรับห้องสมุดให้เป็นระบบอัตโนมัติ มีบริการผ่าน Application ภายใต้ชื่อ Maruey Library App ที่พัฒนามาจาก Pain point ของลูกค้าเราที่ต้องการให้ App เดียว สามารถบริการได้ครบจบในที่เดียว แล้วยังมีบริการที่เรียกว่า ‘One Search’ ที่สามารถหาหนังสือได้ทั้งตัวเล่มและ e-book ในที่เดียว นอกจากนี้ยังมีสื่อรูปแบบใหม่ ๆ ทั้ง Podcast รวมถึง Audiobook ปัจจุบันมีแหล่งเรียนรู้อื่นเยอะ ห้องสมุดมารวยก็ต้องปรับตัวไม่เคยหยุดนิ่ง มีการจัดกิจกรรมทั้ง Onsite และ Online อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ห้องสมุดมารวยเป็นมากกว่าห้องสมุดทั่วไป”

ในฐานะหัวหน้าทีมบริการห้องสมุดมารวย ณัฐยามองว่า Teamwork คือหัวใจสําคัญของการทํางานของทีม เนื่องจากต้องเจอลูกค้าหลายรูปแบบ ทําให้ต้องแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา และไม่ว่าวันเวลาผ่านไปแค่ไหน ห้องสมุดมารวยจะยังคงทําหน้าที่ให้ความรู้เพื่อใช้ขับเคลื่อนและสร้างความยั่งยืนให้คนในแวดวงตลาดทุนอยู่เสมอ

หากมองย้อนกลับไปสู่จุดตั้งต้น ความรู้ทางการเงินเป็นสิ่งสําคัญที่จะทําให้ประชาชนพานพบกับชีวิตที่มั่นคง มีพลังสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่และยั่งยืน เห็นได้ชัดว่าทีม Capital Market Education และตลาดหลักทรัพย์ฯ กําลังเดินไปบนวิถีนั้น ทําหน้าที่ส่งต่อความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างไม่ลดละเพื่อประโยชน์แก่สังคมและผู้คนต่อไป