จากซ้ายไปขวา – กาญจนา โลกคําลือ (ก้อย) ปรัชญา บุณยปรรณานนท์ (กอล์ฟ) สุรพล บุพโกสุม (โก๋) และ สุปราณี ทรงพานิช (แหม่ม)

“ความน่าประทับใจอยู่ตรงที่ทุกคนมองเราเป็นต้นแบบ
เป็นที่แรก ๆ ที่นึกถึงเมื่ออยากมาศึกษาเรียนรู้การจัดการ
สิ่งแวดล้อมในองค์กร คําถามที่ได้ยินอยู่เสมอก็คือจะทํายังไง
ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้าง Green Culture”

SET NET ZERO
มุ่งมั่นเพื่อโลกที่ดีขึ้น

นับตั้งแต่ปี 2559 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปักหมุดลงบนถนนรัชดาภิเษก ในฐานะ Landmark การลงทุน ด้วยภาพลักษณ์โดดเด่นสะดุดตาของตึกสูงทันสมัยรูปทรง ‘โค้งไขว้’ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากตราสัญลักษณ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งต้นกําเนิดของการออกแบบมีความเชื่อมโยงกับรูป ‘ปลาคู่’ บนจานโบราณ การสร้างอาคารนี้ได้คํานึงถึงการอนุรักษ์พลังงานและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวตามมาตรฐานระดับสากล LEED (Leadership in Energy and Environmental Design): Building Design S-AU Gold ของสถาบันสภาอาคารเขียวแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (USGBC)

นี่คือหนึ่งในผลงานที่ชาวตลาดหลักทรัพย์ฯ ภาคภูมิใจมากที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางของ Green Culture และการทํางานเพื่อความยั่งยืนอื่น ๆ ที่ตามมา

ปรัชญา บุณยปรรณานนท์ (กอล์ฟ) ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร ตัวละครสําคัญที่อยู่เบื้องหลังการสร้างบ้านหลังใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ อดยิ้มไม่ได้เมื่อนึกถึงอดีตในวันที่ทุกอย่างยังเป็นเพียงแบบแปลนบนกระดาษ ความฝันยังเป็นเพียงภาพในหัว จนกระทั่งวันหนึ่งก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจนกลายเป็นอาคารสวยงามดังที่เห็นในวันนี้

“ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยโจทย์ที่ได้รับจากผู้บริหารว่าเราต้องการสร้าง Office Grade A เป็นตึกอนุรักษ์พลังงานที่ได้มาตรฐาน LEED และต้องเป็นต้นแบบอาคารยั่งยืนให้บริษัทอื่น ๆ เข้ามาดูงานด้วย จากนั้นก็ไป Research ว่าจะสร้างอาคารแบบนั้นได้ ต้องทํายังไงบ้าง วางแผนตั้งแต่การ Design ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เลือกวัสดุ พูดได้ว่าทั้งตึกเราเลือกใช้ของดีตรงตามมาตรฐานระดับโลกที่วางไว้

“ประสบการณ์ครั้งนั้นทําให้ผมได้ทําอะไรใหม่ ๆ หลายอย่างที่ไม่เคยทํา นําเสนองานในที่ประชุมเป็นร้อยหน ประสานงานกับผู้รับเหมาและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ เป็นสิบ ๆ กลุ่ม วิ่งเข้าออกห้องผู้บริหารกับไซต์งานเป็นปี ๆ ในความรู้สึกของผม ช่วง 5 ปีในการก่อสร้างตึกยาวนานเหมือน 20 ปี” ปรัชญาหัวเราะเสียงดัง ก่อนเล่าต่อ “เหนื่อยมาก แต่ก็สนุกนะครับ เพราะสิ่งที่พวกเรากําลังท่ากันอยู่ในตอนนั้นในเมืองไทยยังไม่เคยมีใครทํามาก่อน”

“หลังเราเปิดอาคารสํานักงานใหม่ได้สําเร็จ ความท้าทายใหม่ที่เข้ามาคือการดูแลตึกอย่างไรให้ ‘ยั่งยืน’ ทําให้ต้องศึกษาต่อไป ว่าในต่างประเทศมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่จะช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ตั้งแต่การคัดสรรทีมเจ้าหน้าที่ รปภ. รวมถึงวางระบบดูแลความปลอดภัยภายในตึก สิ่งที่ชี้วัดความสําเร็จได้ดี อย่างหนึ่งคือการผ่านมาตรฐานในระดับสากล ผมภูมิใจนะที่เราเป็นอาคารต้นแบบให้คนมาดูงาน เราไม่เคยอวดรางวัล แต่เรามักจะเล่าถึงเส้นทางกว่าจะได้รางวัลเหล่านั้นมามากกว่า และแชร์ประสบการณ์ Lesson Learned ที่ควรระวัง จะได้ไม่พลาดเหมือนเรา” ปรัชญาเล่าอย่างอารมณ์ดี

ทุกวันนี้ยังคงมีหน่วยงานมากมายเดินทางมาเยี่ยมชมอาคารใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ขาดสาย ในฐานะต้นแบบอาคารเขียว ลดโลกร้อน (Green Building) หนึ่งในประจักษ์พยานที่ยืนยันว่าอาคารแห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนภายนอกได้ดีที่สุดคือ กาญจนา โลกคําลือ (ก้อย) ผู้บริหารงานด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร หนึ่งในทีม Net Zero ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

“ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นอาคารต้นแบบ เราทําเรื่องของ Carbon Footprint มาตั้งแต่ปี 2559 ต่อมามีการซื้อ Carbon Credit มากลบ จนได้ Carbon Neutral Certificate มาตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งก็ยังทำต่อเนื่องทุกปี กาญจนาเล่าให้ฟังถึงเส้นทางของอาคารต้นแบบ นอกจากนี้ เธอยังรับหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่แขกผู้มาเยือนอีกด้วย

“เรารู้สึกโชคดีมากที่ได้เป็นตัวแทนต้อนรับคนที่มาดูงาน ส่วนใหญ่มักจะมาดูว่าอาคารเขียวประหยัดพลังงานหน้าตาเป็นยังไง บางหน่วยงานก็สนใจเรื่องการลดปริมาณขยะที่นําไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ที่ได้รับใบรับรองจากสากล ความน่าประทับใจอยู่ตรงที่ทุกคนมองเราเป็นที่แรก ๆ ที่นึกถึงเมื่ออยากมาศึกษาเรียนรู้การจัดการสิ่งแวดล้อมในองค์กร คำถามที่ได้ยินอยู่เสมอก็คือจะทํายังไงให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้าง Green Culture ก็ต้องขอบคุณพี่ๆ ทุกคนที่ปูทางสร้างทํามาหลายปีจนประสบความสําเร็จอย่างทุกวันนี้”

“สิ่งสําคัญคือต้องทําให้พนักงานทุกคน
รับรู้ถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ว่า
เราจะทําอะไรโดยไม่แคร์โลกไม่ได้อีกแล้ว
มันจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อโอกาสทางธุรกิจด้วยซ้ำ
เราเชื่อว่าทุกคนไม่แก่เกินไปที่จะเรียนรู้”


หนึ่งในความโดดเด่นของการเป็นต้นแบบ Green Building ผู้มาเยือนมักจะขอคําแนะนําจากทีมนี้คือโครงการลดปริมาณขยะที่นําไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) โดยไม่ส่งขยะให้รถของ กทม. ตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลัง รับผิดชอบปลุกปั้นโครงการนี้จนประสบความสําเร็จคือ สุปราณี ทรงพานิช (แหม่ม) รองผู้อํานวยการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร ว่ากันว่าเธอนี่แหละที่ลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของคนในองค์กรอย่างถอนรากถอนโคน ทั้งยังกํากับดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ํายันปลายน้ําเพื่อให้แน่ใจว่าขยะทุกชิ้นจะถูกกําจัดโดยไม่เหลือทิ้งลงดินไปสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศแม้แต่ชิ้นเดียว

“กว่าจะเป็นองค์กรต้นแบบการจัดการขยะในสํานักงาน ก็ผ่านการเรียนรู้และทดลองทํามาเยอะ เราเริ่มตั้งแต่ศึกษา Certify ของอเมริกา ก็พบว่ามี Gap ห่างอยู่มาก และพบว่าเขาต้องการทําสิ่งที่มีให้เกิดประโยชน์ เช่น เข้ากระบวนการ Recycle และการจัดการขยะแบบ Industrial ไม่ใช่ฝังกลบ ซึ่งได้ Partner ที่ดีอย่างกลุ่มบริษัทเอสซีจี ในการเผาขยะถึงแม้เรามีปริมาณขยะไม่มากก็ตาม บริเวณอาคารสํานักงานก็ต้องทําพื้นที่กักขยะก่อนขนไปจัดการ ต่อมาพบปัญหาเรื่องถุงขยะฟู เมื่อแกะถุงขยะดูก็พบว่ามีถุงซ้อนถุง มีไม้จิ้ม ตะเกียบ ช้อนส้อมพลาสติก เราจึงต้องแยกขยะอย่างเป็นระบบตั้งแต่แหล่งเกิดขยะตามจุดต่าง ๆ เช่น ห้องครัว จุดถ่ายเอกสาร ห้องน้ํา โดยต้องคํานึงถึงสุขอนามัยด้วย ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมีจุดทิ้งขยะมากถึง 33 Drop Points” สุปราณีเล่าถึงความยากของการทําโครงการ

“สิ่งสําคัญคือต้องทําให้พนักงานทุกคนรับรู้ถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงในทุกวันนี้ว่า เราจะทําอะไรโดยไม่แคร์โลกไม่ได้อีกแล้ว มันจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อโอกาสทางธุรกิจด้วยซ้ําเราเชื่อว่าทุกคนไม่แก่เกินไปที่จะเรียนรู้ ตัวเราเองก็เพิ่งมารู้จักการแยกขยะจริง ๆ จัง ๆ เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง ถ้าเราเปิดใจ เรียนรู้ ปรับตัว และอดทนกับมันสักระยะ พอก้าวข้ามไปได้ ทุกอย่างก็ง่ายขึ้น”

สุปราณีถอดบทเรียนจากการทํางานให้ฟังว่า เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจที่ไม่มีทางทําคนเดียวได้สําเร็จ ดังนั้น พนักงานทุกคนจึงต้องเข้าอกเข้าใจกันให้มาก ๆ ปรับเปลี่ยนมุมมอง วิธีคิด ทัศนคติ รวมถึงพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งอาจเติมความคิดสร้างสรรค์ลงไปบ้างเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา

“ถ้าคิดแบบเดิม ๆ ทําแบบเดิม ๆ ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ช่วงแรกพี่บอกแม่บ้านให้เหลือขยะเอาไว้ในถังบ้าง พนักงานจะได้เห็นว่าถังนี้ต้องทิ้งขยะประเภทไหน เราจะเอาถังแต่ละประเภทไปวางในจุดที่เขาถนัด และสอดคล้องกับพฤติกรรมของเขามากที่สุด เช่น บริเวณโต๊ะทํางาน คนมักจะใช้กระดาษ A4 กันเยอะ เราก็วางถังสําหรับขยะจําพวกกระดาษเอาไว้ แถวโต๊ะกินข้าวก็จะวางถังขยะสําหรับทิ้งพวกเศษอาหาร แล้วที่เราเพิ่มเข้ามาไว้เป็นการเฉพาะก็คือ กล่องเล็ก ๆ สําหรับแยกยางรัดถุง ไม้จิ้ม หลอด ถ่านไฟฉาย ลวดเย็บกระดาษ และคลิปกระดาษ

“การที่แม่บ้านเป็นคนคัดแยกขยะให้ดูเป็นตัวอย่างวันแล้ววันเล่ามันส่งผลมาก ๆ ต่อจิตใจพนักงานคนอื่น พอเขาเห็นว่าแม่บ้านต้องเหน็ดเหนื่อยแค่ไหนกับการคัดแยกขยะแต่ละชิ้นที่ทุกคนทิ้งไว้ ก่อนนําเอาไปใส่ในถังขยะที่ถูกประเภท ก็ทําให้พนักงานอดเห็นใจและเกรงใจไม่ได้ สุดท้ายทุกคนจึงค่อย ๆ เริ่มคัดแยก

“ดีใจที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นส่วนหนึ่ง
ในการสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจไทย
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นแหล่งระดมทุนให้กับภาคธุรกิจ
แต่เราไม่ได้คิดถึงแต่เรื่องธุรกิจอย่างเดียว
เราคิดถึงสิ่งแวดล้อม คิดถึงสังคมที่เราอยู่ด้วย”

เริ่มคัดแยกขยะทิ้งด้วยตัวเอง ทุกวันนี้พี่ภูมิใจนะ โดยเฉพาะที่เป็นกําลังสําคัญเลยคือทีมแม่บ้าน แล้วทุกวันนี้เพื่อน ๆ พนักงานก็เริ่มแยกขยะเก่งขึ้น” รอยยิ้มบางปรากฏบนใบหน้าสุปราณีหลังจบประโยค มันฉายแววความมั่นใจและภาคภูมิใจไว้ด้วยกัน

หากดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นจะพบว่ามันไม่ใช่เพียงการเนรมิตตึกอลังการทันสมัยแล้วจบเพียงแค่นั้น ไม่ใช่แค่คว้ารางวัลแล้วก็เลิกรากันไป แต่หน้าที่สําคัญยิ่งกว่าการสร้างคือ การดูแลรักษาให้คงอยู่ต่อไป ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังคงมุ่งมั่นดูแลสิ่งแวดล้อม โดยประกาศเป้าหมายว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050)

“ถ้าพูดถึงความยั่งยืน ประเด็นเร่งด่วนที่คนโฟกัสที่สุดคือเรื่อง Climate Change เพราะทุกวันนี้โลกมันรวนสุด ๆ แล้ว ทุกคนเห็นตรงกันว่าถ้าเราไม่ทําตอนนี้ อนาคตโลกอยู่ไม่ได้แน่ ๆ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงกําหนดให้เป็นนโยบายสําคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ในตอนนี้เลยมีการจัดตั้งคณะทํางานรวบรวมทุกฝ่ายเพื่อทํางานตามแผน SET Journey to Net Zero”

สุรพล บุพโกสุม (โก๋) ผู้อํานวยการ ฝ่ายพัฒนาบริการด้านความยั่งยืน อธิบายขั้นตอนสําคัญโดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลและคํานวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร การตั้งเป้าหมายการลดที่เหมาะสม การดําเนินการแผนลดการปล่อยก๊าซฯ และการติดตามเพื่อปรับปรุงต่อเนื่อง ซึ่งการดําเนินงานตามขั้นตอนเหล่านี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กร ดังนั้น การสื่อสารและการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรจึงเป็นเรื่องจําเป็น

“ดีใจที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบเศรษฐกิจไทย แม้จะได้ชื่อว่าเป็นแหล่งระดมทุนให้กับภาคธุรกิจ แต่เราไม่ได้คิดถึงแต่เรื่องธุรกิจอย่างเดียว เราคิดถึงสิ่งแวดล้อม คิดถึงสังคมที่เราอยู่ด้วย”

สุรพลเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า การผสานพลัง การร่วมมือกันทํางาน และการยึดมั่นประโยชน์ส่วนรวมจะเป็นกุญแจสําคัญ ในการไขประตูไปสู่ความสําเร็จที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้

“เรื่องใหญ่แบบนี้ทําคนเดียวไม่ได้แน่ ๆ เพราะมันเกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักรู้ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย เราจําเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทุกคนต้องมีเป้าหมายเดียวกัน ร่วมมือกันให้มากขึ้นกว่าที่เคย เพราะภารกิจนี้ต้องใช้พลังมหาศาลจากทุกทิศทุกทาง”

บางทีนิยามคําว่า ‘ยั่งยืน’ อาจไม่ใช่เพียงเรื่องดําเนินธุรกิจให้ได้ผลกําไรเท่านั้น หากแต่เป็นการคํานึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ ที่สําคัญคือการปรับเปลี่ยนมุมมองแนวคิดของทุกคนเสียใหม่เพื่อให้มองกว้างและไกลขึ้นกว่าที่เคย สุดท้าย เหนือสิ่งอื่นใดความยั่งยืนนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากชาวตลาดหลักทรัพย์ฯ ทุกคนเป็นที่ตั้ง